เมื่อวันที่ 27 ก.ย. 50 เวลา 11.00 น.เด็กชายสราวุฒิ เปลี่ยนน้อย และเด็กชายกิตติพงษ์ เข็มทอง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้นำกระเป๋าสตางค์มาส่งให้ จ.ส.อ.บุญสม อะละมาลา ( ฝ่ายปกครอง ) โดยบอกว่าได้พบตกอยู่ที่ระเบียงอาคารเรียนหน้าห้องชั้นอนุบาลปีที่ 1/2 เมื่อเปิดดูด้านในกระเป๋า ก็พบว่ามีบัตรประชาชนชื่อ นางพิมพร แต่งตามพันธ์ และเงินเป็นจำนวน 1,800 บาท และในเวลา 11.30 นเจ้าของกระเป๋าสตางค์ได้มาติดต่อขอรับกระเป๋าและกล่าวชื่นชมนักเรียนโรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ บูรณวิทยาและมอบเงินให้นักเรียนทั้งสองคนๆ ละ 50 บาท นับเป็นตัวอย่างที่ดีของนักเรียนทุกคนและเป็นลูกเสือที่บำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชนอย่างแท้จริง ...ฝ่ายธุรการโรงเรียนบูรณวิทยาขอปรบมือให้ด้วยความจริงใจ
วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2550
วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2550
รายงานการประชุม 26.09.50
วันที่ 26 กันยายน 2550
ห้องประชุม ร.ร.ทบอ.บูรณวิทยา
************************************
ประธานการประชุม พ.อ.สุชาต จันทรวงศ์ ครูใหญ่ ร.ร.ทบอ.บูรณวิทยา
เริ่มประชุมเวลา 16.00 น.
งานบริหารงบประมาณ (ครูนันทพร)
-ฝ่ายธุรการได้ดำเนินการแจ้งเรื่องการค้างชำระค่าธรรมเนียมแล้ว ปรากฎว่าภายในเดือนกันยายนมีมาชำระ 14,040.- บาท (หนึ่งหมื่นสี่พันสี่สิบบาทถ้วน) จากยอด 140,750.- บาท (หนึ่งแสนสี่หมื่นเจ็ดร้อยห้าสิบบาทถ้วน) จึงขอความร่วมมือให้ครูประจำชั้นช่วยติดตามด้วย เนื่องจากใกล้จะปิดเทอมที่ 1/50 แล้ว
งานบริหารทั่วไป (ครูระวีวรรณ)
-การมาเข้าเวรในช่วงวันเสาร์ – อาทิตย์ ห้ามมิให้ครูเข้ามาในห้องธุรการ
-การทำความสะอาดประจำห้องเรียน ขอให้ครูประจำชั้นช่วยกวดขันนักเรียนด้วย ห้ามกวาดขยะออกมากองไว้บริเวณหน้าห้องเรียน
ฝ่ายอาคารสถานที่ (ครูธเนตร์)
-ขณะนี้สายไฟบริเวณโรงเรียนฯ เกิดการชำรุด เนื่องจากใช้ไฟเกิดขนาด จึงขอความร่วมมืองดใช้แอร์ชั่วขณะ
ฝ่ายปกครอง (ครูบุญสม)
-เนื่องจากมีนักเรียนเก่าที่จบชั้น ม.3 มาเยี่ยมเยียนโรงเรียนฯ ซึ่งแต่งกายไม่เหมาะสมที่จะเข้ามาในโรงเรียนฯ จึงขอให้ครูที่พบเห็นช่วยกันตักเตือนด้วย เนื่องจากนักเรียนที่เห็นจะประพฤติตาม
วิชาการปฐมวัย (ครูประจวบ)
-ในวันที่ 27–28 ก.ย.50 จะทำการประเมินพัฒนาการเด็ก และปิดเทอมในวันที่ 1–31 ต.ค.50
ฝ่ายสหกรณ์ (ครูชัญญา)
-ขอความร่วมมือให้ครูช่วยติดตามเรื่องการชำระเงินค่าเครื่องหมายลูกเสือด้วย
ผู้ช่วยครูใหญ่ (ครูวิชัย)
-มหกรรมกีฬาเพื่อสุขภาพฯ ได้แบ่งสีเรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะออกเป็นคำสั่งโรงเรียนฯ ต่อไป
ครูใหญ่
เรื่องสำคัญจากที่ประชุมกองพลทหารช่าง/ค่ายบุรฉัตร(เมื่อ 24 ก.ย.2550)
-การใส่หมวกกันน๊อค ขอให้ปฏิบัติโดยเคร่งครัด
-ผู้บัญชาการกองพลไม่ให้ยอมความกรณีวัยรุ่นมาก่อเหตุในโรงเรียนของเรา ทั้งๆ ที่อยู่ในทัณฑ์บน
-สถานการณ์ยาบ้าภายในค่ายฯ มีทั้งนายสิบ และพลทหาร ที่นำมาจำหน่าย
-การเลี้ยงสัตว์ใหญ่ในค่ายบุรฉัตร ห้ามเลี้ยงเป็นธุรกิจ ห้ามเลี้ยงในที่สาธารณะ เลี้ยงได้ในโครงการ
-มีการขุดบ่อสำหรับทิ้งขยะใหม่ของค่ายบุรฉัตร บริเวณสนามฝึกจารุมณี
-หน่วยตรวจโรคมีบริการตรวจคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้า (ครั้งละ 300 บาท เบิกได้)
-ผบ.ทบ.มอบนโยบายแก้ปัญหาภาคใต้ คือ 3 เกาะติด (เกาะติดประชาชน เกาะติดฝ่ายตรงข้าม
-กำหนดพระราชทานเพลิงศพ พลเอกวิษณุ อุดมสรยุทธ วันที่ 29 กันยายน 2550 ณ วัดโสม
-ยกเลิกการส่งกำลังพลทหารช่างไปประเทศซูดาน
-ขอให้ช่วยกันเตรียมจัดการแข่งขันกีฬากองทัพบกครั้งที่ 58 ระหว่าง 7-12 มีนาคม 2551
-ผบ.พล.ช. เข้ารับการศึกษาหลักสูตร วปอ. ตั้งแต่ 9 ต.ค. 2550-12 ก.ย. 2551
เรื่องแจ้งเพื่อทราบ
ผลงานของโรงเรียนที่ผ่านมา
-22-23 ก.ย.2550 สนับสนุนห้องสอบและครูคุมสอบ แก่ กศน.ราชบุรี
-25-26 ก.ย.2550 ส่งประธานสภานักเรียนและคณะกรรมการสภานักเรียน เข้าร่วมอบรม
ผลงานด้านการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ผ่านมา
-5-7 ก.ย.50 อบรมเชิงปฏิบัติการ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเบื้องต้น (3 คน)
-7 ก.ย.2550 อบรมโครงการดูแลเด็กให้เหมาะสมตามวัย (4 คน)
-7-9 ก.ย.2550 อบรมครูผู้สอนสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
-14-16 ก.ย.2550 ส่งครูและบุคลากรเข้ารับการอบรมหลักสูตรผู้บังคับบัญชาลูกเสือขั้นพื้น
แผนการดำเนินการในเดือนต่อไป
-27-28 ก.ย.2550 สอบปฐมวัย ปิดเทอม 1 - 31 ต.ค.2550
-1 ต.ค.2550 เข้าร่วมสัมมนาโครงการเสริมสร้างวัฒนธรรม 80 สถานศึกษา ที่ตึกองค์การสห
-1-5 ต.ค.2550 คัดเลือกตัวแทนวิ่ง 31 ขา ตัวแทนจังหวัดราชบุรี
-4-5 ต.ค.2550 สอบประถม-มัธยม ปิดเทอม 8 - 31 ต.ค.2550
-ต้น ต.ค.2550 สมาพันธ์นักวิ่งเพื่อสุขภาพไทย ร่วมกับสมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย มอบ
-4 ต.ค.2550 เวลา 15.30 น. ผู้บัญชาการกองพลทหารช่าง/ผู้จัดการโรงเรียน
-5-30 พ.ย.50 มหกรรมกีฬาเพื่อสุขภาพ ประจำปีการศึกษา 2550 (28 พ.ย.50 พิธี
-7 พ.ย.2550 ร่วมโครงการสัมมนาทางวิชาการ “ไอซีทีเพื่อการศึกษาไทย” ม.เกษตรศาสตร์
-8 พ.ย.2550 ตรวจกองลูกเสือขั้นที่ 5 โดยมี อ.วีระ ฉายขจร และ อ.ทันทิตย์ ชอบธรรม
-9 พ.ย.2550 หลักสูตร การนำเศรษฐกิจพอเพียงโครงการ “เงินทอง ของมีค่า” ณ อิมแพคเมือง
การสั่งการเพื่อการเดินทางร่วมกัน
-การจัดการแข่งขัน “มหกรรมกีฬาเพื่อสุขภาพประจำปีการศึกษา 2550”ระหว่างวันที่ 5-30 พ.ย.
-ชนิดกีฬาที่แข่งขัน
Ø กีฬามาตรฐาน จำนวน 11 ชนิด ได้แก่ ฟุตบอล วอลเล่ย์บอล บาสเกตบอล ว่ายน้ำ
Ø กีฬาภูมิปัญญาไทย จำนวน 6 ชนิด ได้แก่ หมากเก็บ ตุ๊ง ดาวกระจาย หมากฮอส ชักคะเย่อ
Ø กีฬาอนุบาลคิดเพิ่มเติมได้เอง โดยพิจารณาให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการแข่งขันด้วย
-การวิจัยกลุ่มสาระและวิจัยในชั้นเรียน ให้เริ่มดำเนินการได้เลย และหลังจากเก็บรวบรวมข้อมูลสาเหตุ
-เรื่องการออกข้อสอบ การจัดพิมพ์ข้อสอบ การเก็บรักษาข้อสอบ การแจกจ่ายข้อสอบ การคุมสอบ
-การจัดการแข่งขันกีฬาภายในกองทัพบกครั้งที่ 58 ระหว่าง 7-12 มีนาคม 2551 โรงเรียนของ
Ø การแสดงในพิธีเปิด ดนตรีไทยก่อนเวลา และการแสดงกลางคืนในงานเลี้ยงรับรอง 1 ชุด
Ø การแสดงในพิธีปิด การแสดงกลางคืนในงานเลี้ยงรับรอง 1 ชุด
Ø การแสดงเชียร์บนอัฒจันทร์ ในพิธีเปิด-ปิด จำนวน 200 คน
-ให้ช่วยกันระมัดระวัง และสอดส่องดูแล เนื่องจากสถานการณ์ยาบ้าเริ่มระบาดโดยเฉพาะรอบๆ
-ขอให้ใช้ Blog ในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์งานในกลุ่มสาระของตนเอง รวมทั้งใช้ให้เกิด
ขอความร่วมมือ
-ในช่วงปิดภาคเรียนเทอมนี้ มีงานที่พวกเราต้องดำเนินการร่วมกันจำนวนมาก อาจจะไม่ได้หยุดกัน
Ø การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครูกับครู (Best Practice) ตามที่ได้ไปอบรมมา
Ø การจัดทำร่าง วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และแผนยุทธศาสตร์ของ
Ø การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียน
Ø การปรับเปลี่ยนตารางสอน และครูผู้สอนในแต่ละกลุ่มสาระ
Ø การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้วิชาลูกเสือ-เนตรนารี
Ø การปรับปรุงงบประมาณรายรับ-รายจ่ายใหม่ ประจำภาคเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2550
Ø การปรับปรุงห้องสมุด (เน้นเรื่องห้องสมุดไซเบอร์)
Ø การตกแต่งโรงเรียนในมุมมองใหม่ (เน้นภาษาต่างประเทศ)
-ผู้ที่มักจะส่งงานช้า หรือทำงานช้า และไม่เป็นไปตามกำหนดเวลา ขอให้ปรับปรุงด้วย จะพลอยให้คน
-การแต่งกายของครู และการยืนตรงเคารพธงชาติตอนเช้า
ความคาดหวัง
เก็บมาฝาก
** กรอบความคิด 6 ประการที่มนุษย์ปฏิบัติต่อกัน (Stephen R.Covey : 1996) **
ชนะ/ชนะ ชนะ/แพ้ แพ้/ชนะ
แพ้/แพ้ ชนะ ไม่มีการตกลงใดๆ
......แล้วตัวเราละ...ที่ผ่านมา เรามักจะมีความคิดแบบไหน......????????
ข้อคิด
คนสังคมในโลกยุคโลกาภิวัตน์ จะถูกแบ่งชั้นกันด้วยความรู้และความชำนาญทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (พันเอกสุชาต จันทรวงศ์ 26 ก.ย.2550)
เลิกประชุม เวลา 17.30 น.
นางปัทมา นิลตา
ผู้บันทึกการประชุม
วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2550
หัวข้องานวิจัย
กลุ่มสาระ
1. ภาษาต่างประเทศ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำตัวอักษร A – Z ไม่ได้
2. สังคมศึกษาฯ นักเรียนไม่ทิ้งขยะลงถังขยะ
3. สุขศึกษาฯ นักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ไม่ใส่รองเท้าเวลาเดินออกนอกอาคารเรียน
4. ภาษาไทย เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ผสมคำภาษาไทยไม่ถูกต้อง
5. คณิตศาสตร์ เด็กนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ท่องสูตรคูณไม่ได้
6. วิทยาศาสตร์ เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ไม่สามารถสรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจากการทดลองในวิชาวิทยาศาสตร์
7. การงานอาชีพฯ ศึกษาการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนของครู ร.ร.ทบอ.บูรณวิทยา
8. ศิลปะ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ไม่เตรียมอุปกรณ์มาเรียนวิชาศิลปะ
การวิจัยรายบุคคล
1 ครูสิริภัทร เกษมวงศ์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ไม่รับประทานข้าวเช้ามาโรงเรียน
2 ครูประจวบ เรืองกูล การขาดเรียนของนักเรียนชั้นอนุบาล 3/3
3 ครูนิภาภรณ์ ซอแระ นักเรียนชั้น ม.3/2 ไม่เอาหนังสือเรียนกลับบ้าน
4 ครูนันทพร วิเศษรจนา นักเรียนชั้น ป.5/1 ไม่ทำการบ้านคณิตศาสตร์มาส่ง
5 ครูสาธิดา ธรรมแท้ แก้ปัญหาการขาดเรียนของนักเรียนชั้นอนุบาล 1/2
6. ครูจงฤดี เบญจพลชัย เด็กนักเรียนชั้นอนุบาล 3/2 ไม่ชอบเรียงรองเท้า
7. ครูชัญญา รักทิพย์ นักเรียนชั้นอนุบาล 2/3 พูดจาไม่มีหางเสียง
8. ครูสรประภา ยังกิว เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 อ่านภาษาอังกฤษไม่ออก
9. ครูระวีวรรณ พิมพ์รุน แก้ปัญหานักเรียนหญิงช่วงชั้นที่ 1 เป็นเหา
10. ครูศิริวรรณ แจ้งมุข เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ไม่กินผัก
11. ครูยุพิน สุกไพ เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ไม่ชอบอ่านหนังสือเรียน
12. ครูบุญสม อะละมาลา นักเรียนไม่ชอบแต่งเครื่องแบบลูกเสือและเนตรนารี
13. ครูวิชัย ทรัพย์ประเสริฐ เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ทำงานส่งไม่ทันเวลา
14. ครูสมใจ ไชยยุทธ์ เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 ไม่ส่งการบ้านวิชาคณิตศาสตร์
15. ครูสุกิณตนา กรุงศรีเมือง เด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 ไม่ส่งการบ้านวิชาภาษาไทย
16. ครูจันทร์เพ็ญ กิมตงเห แก้ปัญหาการขาดเรียนของนักเรียนชั้นอนุบาล 1/1
17.ครูจิรสุข เกิดปราโมทย์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/1 อ่าน ก-ฮ ได้ไม่หมด
18.ครูพิชญา แก้วศิริ นักเรียนชั้นอนุบาล 2/1 ไม่ไหว้ จนเป็นลักษณะนิสัย
19. ครูเจตนา ศิริมงคล นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ไม่ชอบเรียนวิชาคณิตศาสตร์
20. ครูชมพูนุช กาบสุวรรณ เด็กนักเรียนชั้น ป.2/2 ไม่ชอบแปรงฟันหลังรับประทานอาหารกลางวัน
21. ครูอภิญญา แจ่มใส แก้ปัญหาการทำงานเป็นกลุ่มของนักเรียนชั้น ม.1/1 ในวิชาคอมพิวเตอร์ ขาดประสิทธิภาพ
22. ครูจิตสุภางค์ ชมใจเลิศ แก้ปัญหาการทำงานเป็นกลุ่มของนักเรียนชั้น ม.1/2 ในวิชาการงานฯ ขาดประสิทธิภาพ
23. ครูจุฑารัตน์ ชิดวิลัย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 อ่านภาษาไทยไม่คล่อง
24. ครูพนิดา มนปราณีต เด็กนักเรียนชั้น ม.1/1 ไม่ส่งการบ้านวิชาคณิตศาสตร์
25. ครูปุญชรัศมิ์ ภูษณะพงษ์ เด็กชั้น ป.4/2 ไม่กล้าแสดงออกในวิชาการงานฯ 26. ครูกัญญาภัค คำสน นักเรียนชั้น อ.2/2 ไม่ไหว้เป็นลักษณะนิสัย
27. ครูกาญจนา จันทรดาสุข นักเรียนชั้น ม.3/2 ไม่ชอบส่งการบ้านวิชาวิทยาศาสตร์
28. ครูมนัสนันท์ แตงสวัสดิ์ นักเรียนชั้น ป.2 อ่านประโยคภาษาไทยยาวๆ ไม่คล่อง
29. ครูรัชนี ค่ายหนองสวง นักเรียนชั้น ป.3/2 ไม่ล้างมือก่อนรับประทานอาหารกลางวัน
30. ครูรุ่งชัย ขาวจุ้ย เด็ก ม.3 ไม่ชอบเรียนวิชานาฎศิลป์
31. ครูวราภรณ์ ทรัพย์ประเสริฐ นักเรียนชั้น ป.4/2 ไม่ส่งงานวิชาวิทยาศาสตร์
32. ครูสุกฤตา คำย้าว เด็กปัสสาระรดที่นอนเวลานอนกลางวัน
33. ครูอัมพร จุลกะนาค นักเรียนชั้น ป.6/2 อ่านออกเสียงคำควบกล้ำไม่ชัดเจน
34. ครูอุดม สุระอุดร นักเรียนชั้น อ.3/1 ไม่ยอมนอนกลางวัน
วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2550
ชวนอนุรักษ์เพลงไทยเดิมของครูเอื้อ สนุทรสนาน
วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2550
สมุนไพรเพื่อสุขภาพในยามแก่ชรา
สวัสดี คุณครูทุกท่านทางธุรการมีสาระดีๆ มาฝากกับคุณครูทุกท่าน
นั้นคือ น้ำนมราชสีห์
น้ำนมราชสีห์เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ใบค่อนข้างรี ผิวใบนุ่ม
สีม่วงแดง ดอกออกเป็นข่อแน่นสีเขียวหรือม่วงตามโคนก้านใบ
ทุกส่วนของต้นมียางสีขาวข้น ซึ่งอาจจะป็นที่มาของชื่อ
ยางสีขาวข้นนำมาทากัดหูดหรือตาปลา ส่วนต้นสดประมาณ
1 กำมือ นำมาต้มเคี่ยวจนเหลือ 1 ใน 3 เอาน้ำดื่มครั้งละ 1 แก้ว
วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น เพื่อแก้บิด ที่มีอาการปวดเบ่งและมีมูก
หรืออาจมีเลือดด้วย
ในฟิลิปปินส์ใช้ใบแห้งผสมกับดอกลำโพงแห้งมวนเป็นบุหรี่
สูบแก้หืด
ชิงช้าชาลี
ชิงช้าชาลีเป็นไม้เถาเลื้อยพันที่มีชื่อแปลก ลักษณะต้นคล้าย
กับบอระเพ็ด สังเกตุความแตกต่างได้ที่เถา เถาชิงช้าชาลีจะมีตุ่ม
น้อยกว่า และมีตุ่มคู่หนึ่งอยู่บนเส้นใบด้านหลังใบใกล้กับฐานใบ
เถาและใบของชิงช้าชาลีมีรสขม ช่วยเจริญอาหาร แก้ตานซาง
แก้กระหายน้ำ แก้สะอึก บำบัดโรคบวมและปวดตามข้อ เถาตำคั้น
เอาน้ำดื่มหรือต้มเคี่ยวเอาน้ำดื่ม ก่อนอาหารวันละ 1-2 ครั้ง เพื่อ
แก้ไข ส่วนใบสดใช้ตำพอกแผล ฝี แก้ปวด ถอนพิษ
เถาชิงช้าชาลีและบอระเพ็ด ใช้ประโยชน์ได้เหมือนกันและ
ใช้แทนกันได้ แต่เถาชิงช้าชาลีจะมีรสขมและคุณภาพอ่อกว่า
บอระเพ็ดครึ่งหนึ่ง จึงต้องใช้เถาชิงช้าชาลีเป็น 2 เท่าของขนาดที่
ใช้บอระเพ็ด
สำหรับเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่นำมาฝากไว้ก็มีเพียงแค่นี้ ถ้ามีสิ่งแปลกๆใหม่จะมานำเสนอให้อีก
วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2550
รวมพลังหารสอง
ชวนไปเที่ยวพักผ่อนวันปิดภาคเรียน
การตัดชุดผ้าไทย
ข้อมูลผ้าไทยในจังหวัดราชบุรี
--------------------------------
๑. ร้านคุณแหม่ม
ที่ตั้ง ๑๐๗ ม.๓ ต.คูบัว อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี ๗๐๐๐๐
จำหน่ายผ้าจกไทยยวน /ผ้าฝ้าย
แบบชิ้น ราคา ๒๔๐ – ๙,๐๐๐ บาท
แบบสำเร็จรูป ราคา ๙๐๐ – ๒,๕๐๐ บาท
๒. ร้านผ้ามณี
ที่ตั้ง ๑๐๔ ม.๖ ต.คูบัว อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี ๗๐๐๐๐
จำหน่ายผ้าจกไทยยวน / ผ้าฝ้าย
แบบชิ้น ราคา ๒๔๐ – ๑๔,๐๐๐ บาท
แบบสำเร็จรูป ราคา ๕๐๐ – ๒,๕๐๐ บาท
๓. ร้านแพรทองไหมไทย
จำหน่ายผ้าไหม/ผ้าพื้นเมือง
ที่ตั้ง ๓๕๙ ต.หน้าเมือง อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี ๗๐๐๐๐
แบบชิ้น ราคา ๕๐๐ – ๓,๐๐๐ บาท
แบบสำเร็จรูป ราคา ๗๕๐ – ๒,๐๐๐ บาท
๔. ร้านอุไรวรรณไหมไทย
จำหน่ายผ้าไหม/ผ้าพื้นเมือง
ที่ตั้ง ๓๕๓/๑๑ ถ.ศรีสุริยวงศ์ ต.หน้าเมือง อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี ๗๐๐๐๐
แบบชิ้น ราคา ๑,๐๐๐ – ๔๐,๐๐๐ บาท
แบบสำเร็จรูป ราคา ๑,๐๐๐ – ๕,๐๐๐ บาท
๕. ร้านผ้าเมือง
จำหน่ายผ้าไหม/ผ้าพื้นเมือง
ที่ตั้ง ๑๓๓/๑ ต.ดอนตะโก อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี ๗๐๐๐๐
แบบชิ้น ราคา ๕๐๐ – ๔,๐๐๐ บาท
ร้านตัดเย็บผ้าไทยฝีมือดี
๑. ร้านปริญญากร
ที่ตั้ง ๘๐/๑๑ ถ.ราษฎรยินดี ต.หน้าเมือง อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี ๗๐๐๐๐
ตัดเย็บ ราคา/ชุด ๑,๘๐๐ - ๓,๕๐๐ บาท
๒. ร้านเรืองรอง
ที่ตั้ง ๑๖๗/๒๔ ถ.ราษฎรยินดี ต.หน้าเมือง อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี ๗๐๐๐๐
ตัดเย็บ ราคา/ชุด ๑,๕๐๐ - ๑,๗๐๐ บาท
ที่ตั้ง ๘๕/๔๒ ถ.คฑาธร ต.หน้าเมือง อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี ๗๐๐๐๐
ตัดเย็บ ราคา/ชุด ๑,๘๐๐ - ๓,๕๐๐ บาท
๔. ร้านนิออร์
ที่ตั้ง ติดธนาคารทหารไทย ต.หน้าเมือง อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี ๗๐๐๐๐
ตัดเย็บ/ชุด ราคา/ชุด ๒,๐๐๐ - ๓,๐๐๐ บาท
๕. ร้านจรรยา
ที่ตั้ง ตรงข้ามธนาคารทหารไทย ต.หน้าเมือง อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี ๗๐๐๐๐
ตัดเย็บ ราคา/ชุด ๒,๐๐๐ - ๓,๐๐๐ บาท
๖. ร้านอาสม
ที่ตั้ง ติดธนาคารกสิกรไทย ถ.ไกรเพชร ต.หน้าเมือง อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี ๗๐๐๐๐
ตัดเย็บ ราคา/ชุด ๒,๐๐๐ - ๔,๐๐๐ บาท
ที่ตั้ง ถ.ราษฎรยินดี ซ. ๕ ต.หน้าเมือง อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี ๗๐๐๐๐
ตัดเย็บ/ชุด ราคา/ชุด ๒,๕๐๐ - ๔,๐๐๐ บาท
๘. ร้านวิวัลย์
ที่ตั้ง ถ.ราษฎรยินดี ซ. ๑ ต.หน้าเมือง อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี ๗๐๐๐๐
ตัดเย็บ ราคา/ชุด ๑,๕๐๐ - ๓,๐๐๐ บาท
๙. ร้านเพชรรัตน์
ที่ตั้ง ถ.ราษฎรยินดี ซ. ๒ ต.หน้าเมือง อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี ๗๐๐๐๐
ตัดเย็บ ราค/ชุด ๑,๕๐๐ - ๓,๐๐๐ บาท
แหล่งผลิตผ้าไทย
๑. สหกรณ์การเกษตรไท – ยวนราชบุรี จำกัด ( ผ้าคูบัว )
ผลิตและจำหน่ายผ้าจกไทยยวน / ผ้าฝ้าย
ที่ตั้ง ๑๐๑ ม. ๖ ต.คูบัว อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี ๗๐๐๐๐
แบบชิ้น ราคา ๒๔๐ – ๕,๐๐๐ บาท
แบบสำเร็จรูป ราคา ๕๐๐ – ๒,๕๐๐ บาท
๒. ศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านวัดนาหนอง ( ผ้าดอนแร่ )
ผลิตและจำหน่ายผ้าจกไทยยวน / ผ้าฝ้าย
ที่ตั้ง หมู่ 2 บ้านหนองขาม ต.ดอนแร่ อ. เมืองราชบุรี จ. ราชบุรี 70000
แบบชิ้น ราคา ๒๔๐ – ๖,๐๐๐ บาท
แบบสำเร็จรูป ราคา ๕๐๐ – ๒,๐๐๐ บาท
๓.กลุ่มทอผ้าพื้นเมือง
ผลิตและจำหน่ายผ้าจกไทยยวน/ผ้าฝ้าย
ที่ตั้ง 80 หมู่ 9 บ้านหนองมะตูม ต. ดอนแร่ อ. เมืองราชบุรี จ. ราชบุรี 70000
แบบชิ้น ราคา ๒๔๐ – ๔,๐๐๐ บาท
๔.กลุ่มหัตถกรรมทอผ้าพื้นบ้าน
ผลิตและจำหน่ายผ้าจกไทยยวน/ผ้าฝ้าย
ที่ตั้ง 2 หมู่ 5 ต.คูบัว อ. เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี 70000
แบบชิ้น ราคา ๒๔๐ – ๔,๐๐๐ บาท
๕. กลุ่มผ้าทอบ้านห้วยปลาดุก
ผลิตและจำหน่ายผ้าจกไทยยวน / ผ้าฝ่ายสอดดิ้น
ที่ตั้ง 32/2 หมู่ 7 บ้านห้วยปลาดุก ต.หินกอง อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี 70000
แบบชิ้น ราคา ๒๔๐ – ๔,๐๐๐ บาท
๖.กลุ่มส่งเสริมอาชีพทอผ้าจกบ้านใต้
ผลิตและจำหน่ายผ้าจกไทยยวน
ที่ตั้ง ม. ๔ ต.คูบัว อ.เมืองราชบุรี จ. ราชบุรี ๗๐๐๐๐
แบบชิ้น ราคา ๒๔๐ – ๕,๐๐๐ บาท
๗. กลุ่มทอผ้าจกคุณยายซ้อน กำลังหาญ
ผลิตผ้าซิ่นตีนจก
ที่ตั้ง ๑๒ ม. ๑๒ ต.คูบัว อ.เมืองราชบุรี จ. ราชบุรี ๗๐๐๐๐
แบบชิ้น ราคา ๑,๒๐๐ – ๗,๐๐๐ บาท
๘. ศูนย์หัตถกรรมผ้าทอพื้นเมืองวัดรางบัว
ผลิตและจำหน่ายผ้าจกไทยยวน
ที่ตั้ง 97/3 หมู่ 1 ต. รางบัว อ. จอมบึง จ. ราชบุรี 70150
แบบชิ้น ราคา ๒๔๐ – ๕,๐๐๐ บาท
๙.กลุ่มพัฒนาอาชีพผ้ามอญทอมือ
ผลิตและจำหน่ายผ้าถุง/ผ้าขาวม้า
ที่ตั้ง วัดม่วง หมู่ ๕ ต.บ้านม่วง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ๗๐๑๑๐
แบบชิ้น ราคา ๓๕๐ – ๑,๐๐๐ บาท
๑๐.ศูนย์ผ้าทอไทยทรงดำ
ผลิตและจำหน่ายผ้าลายแตงโม
ที่ตั้ง ๑๒๐ ม.๑ ต.ห้วยยางโทน อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี ๗๐๑๔๐
แบบชิ้น ราคา ๓๐๐ – ๑,๐๐๐ บาท
๑๑. กลุ่มพัฒนาสตรีบ้านบึงเหนือ
ผลิตและจำหน่ายผ้าทอกะเหรี่ยง
ที่ตั้ง ม. ๖ ต.บ้านคา กิ่ง อ.บ้านคา จ.ราชบุรี ๗๐๑๘๐
แบบชิ้น ราคา ๘,๐๐๐ – ๑๕,๐๐๐ บาท
๑๒. ศูนย์ผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือบ้านไร่ ผลิตและจำหน่ายผ้าขาวม้า/ผ้าฝ้าย
ที่ตั้ง ๙๙/๙ หมู่ ๔ ( อ.บ.ต. บ้านไร่ ) ต.บ้านไร่ อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี ๗๐๐๐๐
แบบชิ้น ราคา ๑๕๐ - ๖๐๐ บาท
๑๓. ผ้าทอบ้านชุกหว้า
ผลิต/จำหน่ายผ้าขาวม้า
ที่ตั้ง ม. ๖ ต.จอมบึง อ .จอมบึง จ.ราชบุรี ๗๐๑๕๐
แบบชิ้น ราคา ๑๕๐ - ๖๐๐ บาท
๑๔. กลุ่มไหมไทยปัศจิม
ผลิตผ้าไหม
ที่ตั้ง 30/3 รางวาลย์ หมู่ 16 ถ.แสงชูโต ต.ท่าผา อ. บ้านโป่ง จังหวัด ราชบุรี ๗๐๑๑๐
แบบชิ้น ราคา ๑,๐๐๐ – ๕,๐๐๐ บาท
๑๕. กลุ่มผ้าทอมือยกมุข
ผลิตผ้าทอมือยกมุข
ที่ตั้ง 6/1 ม. ๔ ต. เจดีย์หัก อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี ๗๐๐๐๐
แบบชิ้น ราคา ๒,๐๐๐ – ๕,๐๐๐ บาท
๑๖.ร้านไหมทอง
และผลิต จำหน่ายผ้าไหม
ที่ตั้ง ถ. ทรงพล ต. ปากแรต อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี
แบบชิ้น ราคา ๑,๕๐๐ – ๕,๐๐๐ บาท
แหล่งศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับผ้า
๑. จิปาถะภัณฑสถานบ้านคูบัว
ที่ตั้ง วัดโขลงสุวรรณคีรี ต.คูบัว อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี
๒.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติราชบุรี
ที่ตั้ง ถนนวรเดช ต.หน้าเมือง อ.เมืองราชบุรี จ. ราชบุรี
๓. ศูนย์สืบทอดศิลปะผ้าจกราชบุรี
ที่ตั้ง วัดแคทราย ต.คูบัว อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี
นโยบายและบทบาทในการสนับสนุนการแต่งกายด้วยผ้าไทย
๑. รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ให้ส่วนราชการในจังหวัดร่วมแต่งกายด้วยผ้าไทย สัปดาห์ละ ๑ วัน และในโอกาสร่วมกิจกรรม พิธีเปิดงานต่างๆ
๒. ขอความร่วมมือจากแหล่งผลิตผ้าไทย ร้านจำหน่ายและร้านตัดเย็บ ลดราคาให้แก่ผู้ซื้อ หรือผู้ที่ตัดเย็บชุดผ้าไทย
๓.นโยบายและกิจกรรมโครงการที่ส่งเสริม สนับสนุน เผยแพร่ ให้เกิดการประยุกต์ใช้ผ้าพื้นเมือง
- จัดประกวดธิดาผ้าทอพื้นเมือง ในโครงการสืบสานศิลปวัฒนธรรม ปี ๒๕๔๙
- จัดประกวดธิดาผ้าทอ ในโครงการมหกรรมวัฒนธรรมภาคกลาง ปี ๒๕๕๐
- จัดประกวดนางงามราชบุรี ในงานกาชาดเที่ยวราชบุรี ปี ๒๕๕๐
- จัดเดินแฟชั่นโชว์ผ้าไทย ในงานกาชาดเที่ยวราชบุรี ปี ๒๕๕๐
- ให้ข้าราชการแต่งกายด้วยผ้าไทยทุกวันศุกร์ตามนโยบายของจังหวัด และในการเปิดงาน กิจกรรมพิธีต่างๆ
- ประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ส่วนราชการต่าง ๆร่วมแต่งกายผ้าไทย
๔. ปัญหาที่พบ
- ได้รับความร่วมมือจากส่วนราชการบางหน่วยงานเท่านั้น
๕. การแก้ไข
- ให้เพิ่มสื่อประชาสัมพันธ์ รณรงค์จากส่วนกลางให้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้ประชาชนรู้สึกว่ามีความภาคภูมิใจที่ได้สวมใส่ผ้าไทย
- จัดกิจกรรมส่งเสริมผ้าไทย เช่น เดินแฟชั่น สัมมนา ออกมาตามจังหวัดต่างๆ บ้าง
๖. ปัจจัยในการบริโภคผ้าไทยในจังหวัดและแนวการส่งเสริม
- ราคาของผ้า ไม่ได้รับความร่วมมือในการลดราคา เนื่องจากผู้ประกอบการมีต้นทุนในการ ผลิตและการจัดจำหน่าย รวมทั้งสิ้นค้าไม่ได้มียอดจำหน่ายสูง
- จัดประกวด คัดเลือกหน่วยงานที่ร่วมรณรงค์แต่งกายผ้าไทยอย่างเหมาะสม
- จัดประกวดการออกแบบลายผ้าพื้นเมืองแบบใหม่ๆ
- ส่งเสริม รณรงค์ ขอความร่วมมือให้สถานศึกษากำหนดให้เยาวชนแต่งกายด้วยผ้าไทย ผ้าพื้นเมือง สัปดาห์ละ ๑ วัน