วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2550

วันปีใหม่..คืออะไร

ความหมายของวันขึ้นปีใหม่
ความหมายของวันขึ้นปีใหม่ ตามพจนานุกรม ฉบับราชตบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า " ปี" ไว้ดังนี้ ปี หมายถึง เวลา ชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน : เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ
ความเป็นมาของ วันขึ้นปีใหม่
ในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้งคือ ครั้งแรกถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่ง ตรงกับเดือนมกราคม ครั้งที่ 2 กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน
การกำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน 2 ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก ต่อมาได้ถือเอาทางสุริยคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็น วันขึ้นปีใหม่อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ไม่สู้จะมีการรื่นเริงอะไรมากนัก สมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นใน กรุงเทพฯเป็นครั้งแรก
การจัดงานวันขึ้นปีใหม่ที่ได้เริ่มเมื่อวันที่ 1 เมษายน ได้แพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อๆมา และในปี พ.ศ.2479 ก็ได้มีการ จัดงานรื่นเริงปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด วันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ในสมัยนั้นทางราชการเรียกว่า วันตรุษสงกรานต์
ต่อมาได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ซึ่งมีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็น วันขึ้นปีใหม่เป็นต้นไป
เหตุผลที่ทางราชการได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายนมาเป็นวันที่ 1 มกราคม ก็คือ

1. ไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ
2. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา
3. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก
4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย

กิจกรรมที่ชาวไทยส่วนใหญ่มักจะยึดถือปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่ได้แก่
1. การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ
2. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร
3. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้น
กิจกรรมใน วันขึ้นปีใหม่
วันที่ 1 มกราคม ของทุกปี จะมีการทำบุญตักบาตรและอุทิศส่วนกุศลผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ฟังเทศน์ ปล่อยปลา ปล่อยนก อวยพรซึ่งกันและกัน หรืออาจจะส่งการ์ดบัตรอวยพร ของขัวญไหว้ผู้ใหญ่เพื่อรับพร และสรงน้ำพระพุทธรูป ประดับธงชาติ และจะเตรียมทำความสะอาดบ้าน และที่พักอาศัย
เพลงวันปีใหม่ (เพลงพรปีใหม่ เพลงพระราชนิพนธ์ในหลวง)
ทำนอง: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชคำร้อง: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ

สวัสดีวันปีใหม่พา ให้บรรดาเราท่านรื่นรมย์ฤกษ์ยามดีเปรมปรีดิ์ชื่นชม ต่างสุขสมนิยมยินดีข้าวิงวอนขอพรจากฟ้า ให้บรรดาปวงท่านสุขศรีโปรดประทานพรโดยปรานี ให้ชาวไทยล้วนมีโชคชัยให้บรรดาปวงท่านสุขสันต์ ทุกวันทุกคืนชื่นชมให้สมฤทัยให้รุ่งเรืองในวันปีใหม่ ผองชาวไทยจงสวัสดีตลอดปีจงมีสุขใจ ตลอดไปนับแต่บัดนี้ให้สิ้นทุกข์สุขเกษมเปรมปรีดิ์ สวัสดีวันปีใหม่เทอญ
เกี่ยวกับ เพลงพรปีใหม่
เพลงพระราชนิพนธ์ พรปีใหม่ เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 13 ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2494 เมื่อเสด็จนิวัตพระนคร และประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต มีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานพรปีใหม่ แก่บรรดาพสกนิกรไทยด้วยเพลง จึงทรงพระราชนิพนธ์เพลง "พรปีใหม่" และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องเป็นคำอำนวยพรปีใหม่ แล้วพระราชทานแก่วงดนตรี 2 วง คือ วงดนตรีนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำออกบรรเลง ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวงดนตรีสุนทราภรณ์ นำออกบรรเลง ณ ศาลาเฉลิมไทย ในวันปีใหม่ วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2495


ประวัติวันคริสต์มาส


คุณครูทราบหรือไม่ว่า..วันคริสต์มาส..หมายถึงอะไร
ถ้าไม่รู้ ลองอ่านดู

คำว่า คริสต์มาส ภาษาอังกฤษเขียนว่า Christmas ดังนั้นอย่าลืม "ต์" อยู่ที่คำว่า คริสต์ (Christ) ไม่ใช่คำว่า "มาส" (Mas) Christmas มาจากภาษาอังกฤษโบราณว่า Christes Maesse แปลว่า บูชามิสซาของพระคริสตเจ้า โดยพบคำนี้ครั้งแรกในเอกสารโบราณในปี ค.ศ.1038 ภายหลังแปรเปลี่ยนมาเป็นคำว่า Christmas ประวัติความเป็นมาของวันคริต์มาส ซึ่งเป็นวันเกิดของพระเยซูนั้น ตามหลักฐานในพระคัมภีร์บันทึกไว้ว่า พระเยซูเจ้าประสูติในสมัยที่จักรพรรดิซีซ่าร์ ออกัสตัส แห่งโรมัน ซึ่งทรงสั่งให้จดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งแผ่นดิน โดยฝ่ายคีรีนิอัส เจ้าเมืองซีเรียก็ขานรับนโยบาย อย่างไรก็ตามในพระคัมภีร์ ไม่ได้ระบุว่า พระเยซูประสูติวันหรือเดือนอะไร ด้านนักประวัติศาสตร์วิเคราะห์ว่า เดิมทีวันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันที่จักรพรรดิเอาเรเลียนแห่งโรมัน กำหนดให้เป็นวันฉลองวันเกิดของสุริยเทพ โดยตั้งแต่ปีค.ศ.274 ชาวโรมันซึ่งส่วนใหญ่นับถือเทพเจ้าฉลองวันนี้เสมือนว่า เป็นวันฉลองของพระจักรพรรดิไปในตัวด้วย เพราะจักรพรรดิก็เปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ ที่ให้ความสว่างแก่ชีวิตมนุษย์ แต่ชาวคริสต์ที่อยู่ในจักรวรรดิโรมัน รวมถึงชาวโรมันที่เปลี่ยนไปนับถือคริสต์อึดอัดใจที่จะฉลองวันเกิดของสุริยเทพ จึงหันมาฉลองการบังเกิดของพระเยซูเจ้าแทน หลังจากที่ชาวคริสต์ถูกควบคุมเสรีภาพทางศาสนาตั้งแต่ปีค.ศ.64-313 จนถึงวันที่ 25 ธันวาคม ปีค.ศ.330 ชาวคริสต์จึงเริ่มฉลองคริสต์มาสอย่างเป็นทางการและเปิดเผย สำหรับองค์ประกอบในงานฉลองวันคริสต์มาสมีความเป็นมาเช่นกัน เริ่มที่คำอวยพรว่า Merry Christmas สุขสันต์วันคริสต์มาส คำว่า Merry ในภาษาอังกฤษโบราณ แปลว่า สันติสุขและความสงบทางใจ จึงเป็นคำที่ใช้อวยพรคนอื่น ขอให้เขาได้รับสันติสุข และความสงบทางใจ เนื่องในโอกาสเทศกาลคริสต์มาส ต่อมาคือ "เพลง" ที่ใช้เฉลิมฉลองทั้งจังหวะช้าและจังหวะสนุกสนาน ส่วนใหญ่แต่งในยุคพระราชินีวิกตอเรียแห่งอังกฤษ (ค.ศ.1840-1900) ปัจจุบันแพร่หลายไปทั่วโลกโดยแปลเป็นภาษาต่างๆ มากมาย สำหรับ "ซานตาคลอส" เซนต์นิโคลัสแห่งเมืองมีรา สมัยศตวรรษที่ 4 ได้รับการขนานนามให้เป็นซานตาคลอสคนแรก เพราะวันหนึ่งท่านปีนขึ้นไปบนหลังคาบ้านของเด็กหญิงยากจนคนหนึ่งแล้วทิ้งถุงเงินลงไปทางปล่องไฟ บังเอิญถุงเงินหล่นไปทางถุงเท้าที่เด็กหญิงแขวนตากไว้ข้างเตาผิงพอดี ปิดท้ายที่ต้นคริสต์มาส หรือต้นสนที่นำมาประดับประดาด้วยดวงไฟหลากสีสัน ต้องย้อนไปศตวรรษที่ 8 เมื่อเซนต์บอนิเฟส มิชชันนารีชาวอังกฤษที่เดินทางไปประกาศเรื่องพระเจ้าในเยอรมนี ได้ช่วยเด็กที่กำลังจะถูกฆ่าเป็นเครื่องสังเวยบูชาที่ใต้ต้นโอ๊ก โดยเมื่อโค่นต้นโอ๊กทิ้งก็ได้พบต้นสนเล็กๆ ต้นหนึ่งขึ้นอยู่โคนต้นโอ๊ก ท่านจึงขุดให้คนที่ร่วมพิธีกรรมเหล่านั้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของชีวิต และตั้งชื่อว่า ต้นกุมารพระคริสต์ ต่อมามาร์ติน ลูเธอร์ ผู้นำคริสตจักรชาวเยอรมัน ตัดต้นสนไปตั้งในบ้านในเดือนธันวาคม ปีค.ศ.1540 หลังจากนั้นในศตวรรษที่ 19 ต้นคริสต์มาสจึงเริ่มแพร่ไปสู่ประเทศอังกฤษและทั่วโลก คริสต์มาส คือการฉลองการบังเกิดของพระเยซูเจ้า เราเฉลิมฉลองกันในวันที่ 25 ธันวาคม คำว่า คริสต์มาส เป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ Christmas ซึ่งมาจากภาษาอังกฤษโบราณว่า Christes Maesse ที่แปลว่า บูชามิสซาของพระคริสตเจ้า เพราะการร่วมพิธีมิสซา เป็นประเพณี สำคัญที่สุด ที่ชาวคริสต์ถือปฎิบัติกันในวันคริสต์มาส คำว่า Christes Maesse พบครั้งแรกในเอกสาร โบราณ เป็นภาษาอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1038 และคำนี้ก็แปรเปลี่ยนมาเป็นคำว่า Christmas คำทักทายที่เราได้ฟังบ่อย ๆ ในเทศกาลนี้คือ Merry Christmas คำว่า Merry ในภาษาอังกฤษโบราณ แปลว่า สันติสุขและความสงบทางใจ เพราะฉะนั้น คำนี้จึงเป็นคำที่ใช้อวยพร คนอื่น ขอให้เขาได้รับสันติสุข และความสงบทางใจ เนื่องในโอกาสเทศกาลคริสต์มาส
ต้นคริสต์มาส
ในสมัยโบราณ "ต้นคริสต์มาส" หมายถึง ต้นไม้ในสวนสวรรค์ ซึ่งอาดัมและเอวาไปหยิบ ผลไม้มากิน และทำบาป ไม่เชื่อฟังพระเจ้า (ปฐก.3:1-6) ตั้งแต่ศตวรรษที่ 11 ชาวคริสต์แสดงละครที่ หน้าวัด ถึงความหมายของคริสต์มาส และเอาต้นไม้ต้นหนึ่งไว้ตรงกลาง เพื่อประดับฉาก แสดงถึงบาปกำเนิดของอาดัมและเอวา ต้นไม้ที่ใช้เป็นต้นสน เนื่องจากเป็นต้นไม้ ที่หาง่ายที่สุด ในประเทศ เหล่านั้น การแสดงละครคริสต์มาสแบบนี้ มีมาเป็นเวลาช้านานหลายร้อยปี จนถึงศตวรรษที่ 15 พระสังฆราชหลายแห่งได้ห้ามแสดง เนื่องจากการแสดงนั้น กลายเป็นการเล่นเหมือนลิเก ล้อชาวบ้าน ผู้ปกครองบ้านเมือง และศาสนา ซึ่งไม่ตรงกับบรรยากาศของการฉลอง ชาวบ้านรู้สึกเสียดาย ที่ไม่มีโอกาส ดูละครสนุกๆ แบบนั้นอีก จึงไปสนุกกันที่บ้านของตน โดยเอาต้นไม้มาไว้ที่บ้าน หลังจากนั้น ก็เริ่มมีการแขวนลูกแอปเปิ้ล ขนมและของขวัญอย่างที่เห็นอยู่ ทุกวันนี้ .....นอกจากนั้น ชาวเยอรมันยังมีประเพณีอีกอย่างหนึ่งคือ มีการจุดเทียนหลายเล่มเป็นรูปปิรามิด ไว้ตลอดคืนคริสต์มาส โดยมีดาวของดาวิดที่ยอดปิรามิด ซึ่งประเพณีที่จะแขวนของขวัญและขนม ก็ได้รวมกับประเพณีของชาวเยอรมันนี้ มาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 โดยเอาเทียนมาไว้ที่ต้นไม้ เป็นรูปทรงปิรามิด นี่เป็นที่มาของประเพณีปัจจุบัน ที่มีการแขวนของขวัญ และไฟกระพริบไว้ที่ต้นคริสต์มาส และมีดาวของดาวิดไว้ที่สุดยอด ประเพณีนี้ เป็นที่นิยมชมชอบของชาวตะวันตกอยู่มาก แม้ว่าประเพณีการตั้งต้นคริสต์มาส มีความเป็นมาดังกล่าว ชาวคริสต์ในสมัยนี้ ก็ยังนิยมทำกันอยู่ เพราะเห็นว่า มีความหมายถึงพระเยซูเจ้า ผู้เปรียบเสมือนต้นไม้แห่งชีวิต (ปฐก.2:9) ที่เขียวสดเสมอในทุกฤดูกาล ซึ่งหมายถึง นิรันดรภาพของพระเยซูเจ้า และนอกจากนั้นยังหมายถึง ความสว่างของพระองค์ เสมือนแสงเทียนที่ส่องในความมืด ทั้งยังหมายถึง ความชื่นชมยินดี และความสามัคคี ที่พระเยซูเจ้าประทานให้ เพราะต้นไม้นั้น เป็นจุดรวมของครอบครัวในเทศกาลนั้น
ซานตาครอส
ซานตาคลอส เป็นจุดเด่นหรือสัญลักษณ์ ที่เด็กและผู้คนนิยมมากที่สุด ในเทศกาลคริสต์มาส แต่แท้ที่จริงแล้ว ซานตาคลอส แทบจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเทศกาลนี้เลย ชื่อซานตาคลอส มาจากชื่อนักบุญนิโคลาส ซึ่งเป็นนักบุญที่ชาวฮอลแลนด์นับถือ เป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์ของเด็กๆ นักบุญองค์นี้ เป็นสังฆราชของไมรา (อยู่ในประเทศตุรกี ปัจจุบัน) มีชีวิตอยู่ราวศตวรรษที่ 4 เมื่อชาวฮอลแลนด์กลุ่มหนึ่ง อพยพไปอยู่ในสหรัฐ ก็ยังรักษาประเพณีนี้ไว้ คือ ฉลองนักบุญนิโคลาส ในวันที่ 6 ธันวาคม ซึ่งหมายถึง นักบุญนี้จะมาเยี่ยมเด็กๆ และเอาของขวัญมาให้ เด็กอื่นๆ ที่ไม่ใช่ลูกหลานของชาวฮอลแลนด์ ที่อพยพมา ก็รู้สึกอยากมีส่วนร่วมในประเพณีแบบนี้บ้าง เพื่อรับของขวัญ ประเพณีนี้ จึงเริ่มเป็นที่รู้จัก และแพร่หลายไปในอเมริกา โดยมีการเปลี่ยนแปลง บางอย่างคือ ชื่อนักบุญนิโคลาส ก็เปลี่ยนเป็นซานตาคลอส และแทนที่จะเป็นสังฆราช ซึ่งเป็นนักบุญ องค์นั้น ก็กลายเป็นชายแก่ที่อ้วน ใส่ชุดสีแดง อาศัยอยู่ที่ขั้วโลกเหนือ มีเลื่อนเป็นพาหนะ มีกวาง เรนเดียร์ลาก และจะมาเยี่ยมเด็กทุกคนในโลกนี้ ในโอกาสคริสต์มาส โดยลงมาทางปล่องไฟ ของบ้าน เพื่อเอาของขวัญมาให้เด็กเหล่านั้น อันที่จริง ซานตาคลอสเป็นรูปแบบที่น่ารัก เหมาะสำหรับเป็นนิยายให้เด็กๆ เชื่อ แต่อาจจะทำให้คนทั่วไปหันมาสนใจ ให้ความสำคัญในตัวนิยายนี้ แทนการบังเกิดของพระเยซูเจ้า ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของเทศกาลคริสต์มาสนี้
อื่นๆ
การให้ของขวัญในวันคริสต์มาส เป็นธรรมเนียมนี้ เริ่มกับชาวโรมที่เคยให้ของขวัญแก่เพื่อนในวันขึ้นปีใหม่ (มักจะเป็นผลไม้ ขนม หรือทองคำ) ต่อมาชาวอังกฤษถือ "วันกลอง" (ในวันที่ 26 ธันวาคม) เป็นวันที่ศิษยาภิบาลเคยเปิด "กลองทาน" ในโบสถ์ และแจกเงินให้สมาชิกที่ยากจน ต่อมาชาว อังกฤษก็ให้ของขวัญแก่พวกคนใช้ และเจ้าหน้าที่ต่างๆ ในวันนั้นด้วย ในทวีปยุโรป เด็กๆ มัก จะเข้าใจว่า พระกุมารเยซูเป็นผู้นำของขวัญมาให้เขา (แท้จริงแล้วพ่อแม่เป็นผู้ที่ให้ต่างหาก) แต่เด็กที่สหรัฐอเมริกามักจะคิดว่า "ซานตาคลอส" เป็นผู้ให้ คืนก่อนวันคริสต์มาส หรือคริสต์มาสอีฟ จะมีงานแครอลลิ่ง ซึ่งจะมีเด็กๆ ไปร้องเพลงตามบ้าน ในคืนวันคริสต์มาส ผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์ จะมารวมตัวกันที่โบสถ์เพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน เช่นการแสดง ร้องเพลง
เพลงคริสต์มาส เพลงวันคริสต์มาส
เพลงคริสต์มาส เริ่มมีขึ้นในศตวรรษที่ 5 ซึ่งในสมัยนั้น มีทั้งพระสงฆ์และฆราวาสเป็นผู้แต่ง ร้องเป็นภาษาลาติน ลักษณะของเพลงเป็นแบบสง่า เน้นถึงความหมายของการเสด็จมา ของพระเยซูเจ้า แต่ในศตวรรษที่ 12 ได้มีวิวัฒนาการใหม่ในด้านเพลงนี้ เริ่มในประเทศอิตาลี โดยนักบุญฟรังซิส อัสซีซี และนักบวชคณะฟรังซิสกัน เป็นผู้มีส่วนในการสนับสนุน ให้มีเพลงคริสต์มาสแบบใหม่ ซึ่งชาวบ้านชอบ คือมีท่วงทำนองที่ร่าเริงกว่า และเน้นถึงความชื่นชมยินดี ในโอกาสคริสต์มาสนี้ เพลงเหล่านี้เป็นภาษาลาติน และภาษาพื้นเมือง เพลงหนึ่งที่แต่งในสมัยนั้น (แต่งคำร้องในปี ค.ศ.1274) และยังใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน คือ เพลง Oh Come, All Ye Faithful หรือ Adeste Fideles ในภาษาลาติน เพลงคริสต์มาส ที่เรานิยมร้องมากที่สุดในปัจจุบันได้แต่งขึ้นในศตวรรษที่ 19 จากประเทศเยอรมัน และประเทศอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ เพลงที่มีชื่อเสียงมากได้แก่ เพลง Silent Night, Holy Night ความเป็นมาของเพลงนี้คือ วันก่อนวันฉลองคริสต์มาส ของปี ค.ศ.1818 คุณพ่อโจเซฟ โมห์ เจ้าอาวาสวัดที่โอเบิร์นดอฟ ประเทศออสเตรีย ได้ข่าวว่าออร์แกนในวันเสีย ทำให้วงขับร้อง ไม่สามารถร้องเพลงตามที่ซ้อมไว้ได้ คุณพ่อเองตั้งใจ จะแต่งเพลงคริสต์มาสใหม่ หลังจากแต่งเสร็จ ก็เอาไปให้เพื่อนคนหนึ่งชื่อ ฟรานซ์ กรูเบอร์ ที่อยู่หมู่บ้านใกล้เคียงใส่ทำนอง ในคืนวันที่ 24 นั้นเอง สัตบุรุษวัดนี้ ก็ได้ฟังเพลง Silent Night เป็นครั้งแรก โดยการเล่นกีตาร์ประกอบการขับร้อง ซึ่งกลายเป็นเพลงที่นิยมมากที่สุดทั่วโลก


เป็นยังไงค่ะ..ได้อ่านแล้ว คงทราบความหมายของคำว่า"คริสต์มาส" กันแล้ว

วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

คำขวัญวันเด็ก


คำขวัญวันเด็ก เป็นคำขวัญที่นายกรัฐมนตรีมอบให้เด็กไทย เนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติของทุกปี โดยคำขวัญวันเด็กมีขึ้นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2499 ในสมัยที่จอมพล ป.พิบูลสงครามดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และตั้งแต่ พ.ศ. 2502 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ให้คุณค่าความสำคัญของเด็ก จึงมอบคำขวัญให้เป็นข้อคติเตือนใจสำหรับเด็กปีละ 1 คำขวัญ (ก่อนถึงวันเด็กแห่งชาติ) นายกรัฐมนตรีสมัยต่อมา จึงได้ถือเป็นธรรมเนียมสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

คำขวัญวันเด็กตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
พ.ศ. 2499 - จอมพล ป.พิบูลสงคราม
จงบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและส่วนรว
พ.ศ. 2502 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความก้าวหน้า
พ.ศ. 2503 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความสะอาด
พ.ศ. 2504 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่อยู่ในระเบียบวินัย
พ.ศ. 2505 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่ประหยัด
พ.ศ. 2506 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่มีความขยันหมั่นเพียรมากที่สุด
พ.ศ. 2507
ไม่มีคำขวัญ เนื่องจากงดการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ
พ.ศ. 2508 - จอมพล ถนอม กิตติขจร
เด็กจะเจริญต้องรักเรียนเพียรทำดี
พ.ศ. 2509 - จอมพล ถนอม กิตติขจร
เด็กที่ดีต้องมีสัมมาคารวะ มานะ บากบั่น และสมานสามัคคี
พ.ศ. 2510 - จอมพล ถนอม กิตติขจร
อนาคตของชาติจะสุกใส หากเด็กไทยแข็งแรงดีมีความประพฤติเรียบร้อย
พ.ศ. 2511 - จอมพล ถนอม กิตติขจร
ความเจริญและความมั่นคงของชาติไทยในอนาคต ขึ้นอยู่กับเด็กที่มีวินัย เฉลียวฉลาดและรักชาติยิ่ง
พ.ศ. 2512 - จอมพล ถนอม กิตติขจร
รู้เรียน รู้เล่น รู้สามัคคี เป็นความดีที่เด็กพึงจำ
พ.ศ. 2513 - จอมพล ถนอม กิตติขจร
เด็กประพฤติดีและศึกษาดี ทำให้มีอนาคตแจ่มใส
พ.ศ. 2514 - จอมพล ถนอม กิตติขจร
ยามเด็กจงหมั่นเรียน เพียรกระทำดี เติบใหญ่จะได้มีความสุขความเจริญ
พ.ศ. 2515 - จอมพล ถนอม กิตติขจร
เยาวชนฝึกตนดี มีความสามารถ
พ.ศ. 2516 - จอมพล ถนอม กิตติขจร
เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ
พ.ศ. 2517 - นายสัญญา ธรรมศักดิ์
สามัคคีคือพลัง
พ.ศ. 2518 - นายสัญญา ธรรมศักดิ์
เด็กดีคือทายาทของชาติไทย ต้องร่วมใจร่วมพลังสร้างความสามัคคี
พ.ศ. 2519 - หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
เด็กที่ต้องการเห็นอนาคตของชาติรุ่งเรือง จะต้องทำตัวให้ดี มีวินัย เสียแต่บัดนี้
พ.ศ. 2520 - นายธานินทร์ กรัยวิเชียร
รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเยาวชนไทย
พ.ศ. 2521 - พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติมั่นคง
พ.ศ. 2522 - พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
เด็กไทยคือหัวใจของชาติ
พ.ศ. 2523 - พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
อดทน ขยัน ประหยัด เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย
พ.ศ. 2524 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
เด็กไทยมีวินัย ใจสัตย์ซื่อ รู้ประหยัด เคร่งครัดคุณธรรม
พ.ศ. 2525 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
ขยันศึกษา ใฝ่หาความรู้ เชิดชูชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย
พ.ศ. 2526 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
รู้หน้าที่ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด มีวินัยและคุณธรรม
พ.ศ. 2527 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
รักวัฒนธรรมไทย ใฝ่ดีมีความคิด สุจริตใจมั่น หมั่นศึกษา
พ.ศ. 2528 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
สามัคคี นิยมไทย มีวินัย ใฝ่คุณธรรม
พ.ศ. 2529 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ. 2530 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ. 2531 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ. 2532 - พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ
รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ. 2533 - พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ
รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ. 2534 - พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ
รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่คุณธรรม นำชาติพัฒนา
พ.ศ. 2535 - นายอานันท์ ปันยารชุน
สามัคคี มีวินัย ใฝ่ศึกษา จรรยางาม
พ.ศ. 2536 - นายชวน หลีกภัย
ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. 2537 - นายชวน หลีกภัย
ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. 2538 - นายชวน หลีกภัย
สืบสานวัฒนธรรมไทย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. 2539 - นายบรรหาร ศิลปอาชา
มุ่งหาความรู้ เชิดชูความเป็นไทย หลีกไกลยาเสพติด
พ.ศ. 2540 - พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
รู้คุณค่าวัฒนธรรมไทย ตั้งใจใฝ่ศึกษา ไม่พึ่งพายาเสพติด
พ.ศ. 2541 - นายชวน หลีกภัย
ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย
พ.ศ. 2542 - นายชวน หลีกภัย
ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย
พ.ศ. 2543 - นายชวน หลีกภัย
มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย
พ.ศ. 2544 - นายชวน หลีกภัย
มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย
พ.ศ. 2545 - พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร
เรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้ สู่อนาคตที่สดใส
พ.ศ. 2546 - พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร
เรียนรู้ตลอดชีวิต คิดอย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี
พ.ศ. 2547 - พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร
รักชาติ รักพ่อแม่ รักเรียน รักสิ่งดีๆ อนาคตดีแน่นอน
พ.ศ. 2548 - พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร
เด็กรุ่นใหม่ ต้องขยันอ่าน ขยันเรียน กล้าคิด กล้าพูด
พ.ศ. 2549 - พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร
อยากฉลาด ต้องขยันอ่าน ขยันคิด
พ.ศ. 2550 - พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
มีคุณธรรมนำใจ ใช้ชีวิตพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข
พ.ศ.2551 - พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์
สามัคคี มีวินัย ใฝ่ความรู้ เชิดชูคุณธรรม

วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ด้วยบริษัทมิชลินร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ ชวนน้อง ๆ ชั้น ป.1 - ป.3 ส่งผลงานวาดภาพระบายสี

ชิงทุนการศึกษา ประจำปี 2550 ในหัวข้อ " ลดใช้พลังงาน ลดปัญหาโลกร้อน "

ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามได้ที่ ฝ่ายโครงการประวกดวาดภาพมิชลิน อาคารพิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานคร โทร 0-2615-7333 ต่อ 107,119 ตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2550 นี้เท่านั้น



รีบ ๆ หน่อยนะคะ ..ที่มา Kid and School Vol.8 No.89 November 2007..

ขอความร่วมมือพิจารณาบุคลากรเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโท


ด้วยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง กำลังเปิดรับสมัครนักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาการสอนภาษาอังกฤษ ในฐานะภาษาต่างประเทศ และสาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา เข้าศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 โดยจัดการเรียนการสอน ณ ศูนย์ให้การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา วิทยาลัยพยาบาลราชชนนี ราชบุรี

ในการนี้ ศูนย์ให้การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง มีนโยบายเน้นในด้านการขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่ผู้บริหาร ครูผู้สอน และบุคลากร ในท้องถิ่นและพื้นที่ใกล้เคียง โดยเปิดโอกาสให้ส่งบุคลากรเข้าศึกษาต่อตามหลักสูตรข้างต้น จำนวนไม่เกิน 3 คน จัดส่งรายชื่อมายัง สำนักศูนย์ให้การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ภายในวันที่ 28 ตุลาคม สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร 0 3226 1790 ต่อ 3008


ฝ่ายธุรการ ฯ

วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2550

พ่อ-แม่ เป็นพระในบ้าน



มารดาบิดานั้นในทางธรรมะท่านถือว่าเป็น "พระ" ในครัวเรือนเป็นพระที่เราควรกราบไหว้บูชาสักการะทุกวันเวลา คนเราถ้าไม่รู้จักกราบพระที่อยู่
ใกล้ ๆ แล้วจะไปไหว้พระที่อยู่ไกลๆ ได้อย่างไรพระที่อยู่ที่วัดอยู่ไกลบ้าน แต่พระที่อยู่ใกล้เราก็คือแม่ของเราพ่อของเรานั่นเอง เราจึงต้องเคารพพระที่อยู่ในบ้านก่อน แล้วมันจะเกื้อกูลแก่การเคารพพระนอกบ้านต่อไป เคราพอะไรๆ อื่นต่อไปมารดาบิดาจึงเป็นร่มโพธิ์ร่มไทร เป็นเทวดาผู้ให้ความคุ้มครองรักษาแก่เราตลอดเวลา

จึงขอนำบทความในข้างต้นนี้ไว้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ให้ระลึกถึงพระคุณของคุณพ่อ-คุณแม่ไว้ ณ.ที่นี้




คติธรรม

สติมา ทุกข์หนี
สติมี ทุกข์หมด
สติลด ทุกข์มา



สูตรประสพความสำเร็จ
1.ขยัน ( แบบคนจีน )
2.นอบน้อม (สุภาพแบบคนไทย)
3.ทำงานเป็นระบบ ( แบบคนฝรั่ง )
4.ทำงานเป็นทีม ( แบบคนญี่ปุ่น )
5.มีเป้าหมายชัดเจน จริงจัง ( ซื่อสัตย์)


อยากให้คุณครูทุกท่านยึดสูตรประสพความสำเร็จใน 5 ประการนี้ แล้วท่านจะประสพความสำเร็จ





วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2550

โครงการบรรพชาสามเณรเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา



ตามที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้จัดโครงการบรรพชาสามเณร 84,000 รูป เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มหาเถรสมาคม กระทรวงศึก์ธิการ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงกลาโหม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ระหว่างวันที่ 7 - 26 ตุลาคม 2550 ทางโรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ บูรณวิทยา ได้มีนักเรียนที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการดังกล่าว จำนวน 6 คน คือ
1. ด.ช.ธัญญารักษ์ ศรีสุข
2. ด.ช.เวชยันต์ ปานพวงแก้ว
3. ด.ช.ชุติวัฒน์ บุญมี
4. ด.ช.อนุชา ท้าวเครือ
5. ด.ช.ปรณต มีอยู่
6. ด.ช.ภัทรพงศ์ ไม้แก้ว
ซึ่งนักเรียนของเรา จะทำการบรรพชา ณ วัดมหาธาตุวรวิหาร วันที่ 14 ต.ค.50 เวลา 14.00 น. โดยมีผู้ช่วยครูใหญ่ของเรา (จ.ส.อ.วิชัย ทรัพย์ประเสริฐ) เข้าร่วมพิธีดังกล่าวด้วย จึงขอเชิญชวนคณะครูที่ว่างไปร่วมอนุโมทนาบุญให้กับนักเรียนของเราด้วยนะคะ..เห็นไหมว่านักเรียนของเราหันมาให้ความสนใจด้านธรรมะกันมากขึ้น ด้านกิจกรรมก็เก่ง เทคโนโลยีก็ล้ำสมัย


ฝ่ายธุรการขอแจ้งข่าวให้ทราบโดยทั่วกัน



แผนการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ บูรณวิทยา
· วันที่ 27 – 28 ก.ย.2550 อนุบาล 1 – 3 สอบวัดผล
· วันที่ 4 – 5 ต.ค.2550 ป.1 – ม.3 สอบวัดผล
· วันที่ 8 – 12 ต.ค.2550 สอบซ่อมสำหรับนักเรียนที่ไม่ผ่าน (ให้นักเรียนติดต่อสอบถามและ
ขอสอบซ่อมกับครูประจำวิชา)
· วันที่ 1 – 31 ต.ค.2550 ระดับอนุบาล ปิดเทอม
· วันที่ 8 –31 ต.ค.2550 ระดับ ป.1 – ม.3 ปิดเทอม
· วันที่ 1 พ.ย.2550 เปิดเทอมทุกระดับชั้น
· วันที่ 1 – 15 พ.ย.2550 ผู้ปกครองชำระค่าธรรมเนียม ภาคเรียนที่ 2/2550
· วันที่ 2 พ.ย.2550 ประกาศผลสอบ
· วันที่ 5 – 30 พ.ย.2550 มหกรรมกีฬาเพื่อสุขภาพ (กีฬาสี) ประจำปีการศึกษา 2550

**จ้ห้ทั่กั**

วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2550

นักเรียนกระทำความดี





เมื่อวันที่ 27 ก.ย. 50 เวลา 11.00 น.เด็กชายสราวุฒิ เปลี่ยนน้อย และเด็กชายกิตติพงษ์ เข็มทอง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้นำกระเป๋าสตางค์มาส่งให้ จ.ส.อ.บุญสม อะละมาลา ( ฝ่ายปกครอง ) โดยบอกว่าได้พบตกอยู่ที่ระเบียงอาคารเรียนหน้าห้องชั้นอนุบาลปีที่ 1/2 เมื่อเปิดดูด้านในกระเป๋า ก็พบว่ามีบัตรประชาชนชื่อ นางพิมพร แต่งตามพันธ์ และเงินเป็นจำนวน 1,800 บาท และในเวลา 11.30 นเจ้าของกระเป๋าสตางค์ได้มาติดต่อขอรับกระเป๋าและกล่าวชื่นชมนักเรียนโรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ บูรณวิทยาและมอบเงินให้นักเรียนทั้งสองคนๆ ละ 50 บาท นับเป็นตัวอย่างที่ดีของนักเรียนทุกคนและเป็นลูกเสือที่บำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชนอย่างแท้จริง ...ฝ่ายธุรการโรงเรียนบูรณวิทยาขอปรบมือให้ด้วยความจริงใจ

วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2550

วิดีโอซ้อมวิ่ง 31 ขาของ รร.ทบอ.บูรณวิทยา


ภาพการซ้อมวิ่ง 31 ขาของนักเรียน รร.ทบอ.บูรณวิทยา

รายงานการประชุม 26.09.50

รายงานการประชุม ครั้งที่ 6/2550
วันที่ 26 กันยายน 2550
ห้องประชุม ร.ร.ทบอ.บูรณวิทยา

************************************

ประธานการประชุม พ.อ.สุชาต จันทรวงศ์ ครูใหญ่ ร.ร.ทบอ.บูรณวิทยา
เริ่มประชุมเวลา 16.00 น.
งานบริหารงบประมาณ (ครูนันทพร)
-ฝ่ายธุรการได้ดำเนินการแจ้งเรื่องการค้างชำระค่าธรรมเนียมแล้ว ปรากฎว่าภายในเดือนกันยายนมีมาชำระ 14,040.- บาท (หนึ่งหมื่นสี่พันสี่สิบบาทถ้วน) จากยอด 140,750.- บาท (หนึ่งแสนสี่หมื่นเจ็ดร้อยห้าสิบบาทถ้วน) จึงขอความร่วมมือให้ครูประจำชั้นช่วยติดตามด้วย เนื่องจากใกล้จะปิดเทอมที่ 1/50 แล้ว
งานบริหารทั่วไป (ครูระวีวรรณ)
-การมาเข้าเวรในช่วงวันเสาร์ – อาทิตย์ ห้ามมิให้ครูเข้ามาในห้องธุรการ
-การทำความสะอาดประจำห้องเรียน ขอให้ครูประจำชั้นช่วยกวดขันนักเรียนด้วย ห้ามกวาดขยะออกมากองไว้บริเวณหน้าห้องเรียน
ฝ่ายอาคารสถานที่ (ครูธเนตร์)
-ขณะนี้สายไฟบริเวณโรงเรียนฯ เกิดการชำรุด เนื่องจากใช้ไฟเกิดขนาด จึงขอความร่วมมืองดใช้แอร์ชั่วขณะ
ฝ่ายปกครอง (ครูบุญสม)
-เนื่องจากมีนักเรียนเก่าที่จบชั้น ม.3 มาเยี่ยมเยียนโรงเรียนฯ ซึ่งแต่งกายไม่เหมาะสมที่จะเข้ามาในโรงเรียนฯ จึงขอให้ครูที่พบเห็นช่วยกันตักเตือนด้วย เนื่องจากนักเรียนที่เห็นจะประพฤติตาม
วิชาการปฐมวัย (ครูประจวบ)
-ในวันที่ 27–28 ก.ย.50 จะทำการประเมินพัฒนาการเด็ก และปิดเทอมในวันที่ 1–31 ต.ค.50
ฝ่ายสหกรณ์ (ครูชัญญา)
-ขอความร่วมมือให้ครูช่วยติดตามเรื่องการชำระเงินค่าเครื่องหมายลูกเสือด้วย
ผู้ช่วยครูใหญ่ (ครูวิชัย)
-มหกรรมกีฬาเพื่อสุขภาพฯ ได้แบ่งสีเรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะออกเป็นคำสั่งโรงเรียนฯ ต่อไป
ครูใหญ่
เรื่องสำคัญจากที่ประชุมกองพลทหารช่าง/ค่ายบุรฉัตร(เมื่อ 24 ก.ย.2550)
-การใส่หมวกกันน๊อค ขอให้ปฏิบัติโดยเคร่งครัด
-ผู้บัญชาการกองพลไม่ให้ยอมความกรณีวัยรุ่นมาก่อเหตุในโรงเรียนของเรา ทั้งๆ ที่อยู่ในทัณฑ์บน
-สถานการณ์ยาบ้าภายในค่ายฯ มีทั้งนายสิบ และพลทหาร ที่นำมาจำหน่าย
-การเลี้ยงสัตว์ใหญ่ในค่ายบุรฉัตร ห้ามเลี้ยงเป็นธุรกิจ ห้ามเลี้ยงในที่สาธารณะ เลี้ยงได้ในโครงการ
ต่างๆ ของหน่วย แต่จำกัดจำนวน กองพันไม่เกิน 20 ตัว กองร้อยไม่เกิน 5 ตัว
-มีการขุดบ่อสำหรับทิ้งขยะใหม่ของค่ายบุรฉัตร บริเวณสนามฝึกจารุมณี
-หน่วยตรวจโรคมีบริการตรวจคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้า (ครั้งละ 300 บาท เบิกได้)
-ผบ.ทบ.มอบนโยบายแก้ปัญหาภาคใต้ คือ 3 เกาะติด (เกาะติดประชาชน เกาะติดฝ่ายตรงข้าม
และเกาะติดพื้นที่)
-กำหนดพระราชทานเพลิงศพ พลเอกวิษณุ อุดมสรยุทธ วันที่ 29 กันยายน 2550 ณ วัดโสม
มนัสวิหาร
-ยกเลิกการส่งกำลังพลทหารช่างไปประเทศซูดาน
-ขอให้ช่วยกันเตรียมจัดการแข่งขันกีฬากองทัพบกครั้งที่ 58 ระหว่าง 7-12 มีนาคม 2551
-ผบ.พล.ช. เข้ารับการศึกษาหลักสูตร วปอ. ตั้งแต่ 9 ต.ค. 2550-12 ก.ย. 2551
เรื่องแจ้งเพื่อทราบ
ผลงานของโรงเรียนที่ผ่านมา
-4 ก.ย.2550 ส่งประธานสภานักเรียนและคณะกรรมการสภานักเรียน เข้าร่วมโครงการผู้ว่าพา
ลูกเที่ยว จำนวน 2 คน
-7-9 ก.ย.2550 อบรมครูผู้สอนสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ช่วงชั้นที่ 2 (2 คน)
-22-23 ก.ย.2550 สนับสนุนห้องสอบและครูคุมสอบ แก่ กศน.ราชบุรี
-25-26 ก.ย.2550 ส่งประธานสภานักเรียนและคณะกรรมการสภานักเรียน เข้าร่วมอบรม
โครงการปฏิบัติการนักเรียนแกนนำการป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษา จัดโดย สพท.ราชบุรี เขต 1
จำนวน 2 คน
ผลงานด้านการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ผ่านมา
-5-7 ก.ย.50 อบรมเชิงปฏิบัติการ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเบื้องต้น (3 คน)
-7 ก.ย.2550 อบรมโครงการดูแลเด็กให้เหมาะสมตามวัย (4 คน)
-7-9 ก.ย.2550 อบรมครูผู้สอนสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ช่วงชั้นที่ 2 (2 คน)
-14-16 ก.ย.2550 ส่งครูและบุคลากรเข้ารับการอบรมหลักสูตรผู้บังคับบัญชาลูกเสือขั้นพื้น
ฐาน (B.T.C) ณ ค่ายหลวงบ้านไร่ จำนวน 15 คน
แผนการดำเนินการในเดือนต่อไป
-27-28 ก.ย.2550 สอบปฐมวัย ปิดเทอม 1 - 31 ต.ค.2550
-1 ต.ค.2550 เข้าร่วมสัมมนาโครงการเสริมสร้างวัฒนธรรม 80 สถานศึกษา ที่ตึกองค์การสห
ประชาชาติ
-1-5 ต.ค.2550 คัดเลือกตัวแทนวิ่ง 31 ขา ตัวแทนจังหวัดราชบุรี
-4-5 ต.ค.2550 สอบประถม-มัธยม ปิดเทอม 8 - 31 ต.ค.2550
-ต้น ต.ค.2550 สมาพันธ์นักวิ่งเพื่อสุขภาพไทย ร่วมกับสมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย มอบ
รถเข็นให้ ด.ญ.ญาดา ใบมะลิ ชั้น ป.3/1
-4 ต.ค.2550 เวลา 15.30 น. ผู้บัญชาการกองพลทหารช่าง/ผู้จัดการโรงเรียน
มอบนโยบายให้ครู
-5-30 พ.ย.50 มหกรรมกีฬาเพื่อสุขภาพ ประจำปีการศึกษา 2550 (28 พ.ย.50 พิธี
เปิด/30 พ.ย. 50 พิธีปิด)
-7 พ.ย.2550 ร่วมโครงการสัมมนาทางวิชาการ “ไอซีทีเพื่อการศึกษาไทย” ม.เกษตรศาสตร์
-8 พ.ย.2550 ตรวจกองลูกเสือขั้นที่ 5 โดยมี อ.วีระ ฉายขจร และ อ.ทันทิตย์ ชอบธรรม
มาตรวจ
-9 พ.ย.2550 หลักสูตร การนำเศรษฐกิจพอเพียงโครงการ “เงินทอง ของมีค่า” ณ อิมแพคเมือง
ทองธานี
การสั่งการเพื่อการเดินทางร่วมกัน
-การจัดการแข่งขัน “มหกรรมกีฬาเพื่อสุขภาพประจำปีการศึกษา 2550”ระหว่างวันที่ 5-30 พ.ย.
50(28 พ.ย.50 พิธีเปิด/30 พ.ย.50 พิธีปิด)วัตถุประสงค์ เพื่อให้นักเรียนจัดการแข่ง
ขันกีฬาเป็น เล่นกีฬาเป็น และดูกีฬาเป็น พวกเรามีหน้าที่ให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษา และเป็น
กรรมการตัดสิน
-ชนิดกีฬาที่แข่งขัน
Ø กีฬามาตรฐาน จำนวน 11 ชนิด ได้แก่ ฟุตบอล วอลเล่ย์บอล บาสเกตบอล ว่ายน้ำ
แฮนด์บอล แชร์บอล เปตอง กรีฑา เซปัคตระก้อ ฟุตซอลท์ และเทเบิลเทนนิส
Ø กีฬาภูมิปัญญาไทย จำนวน 6 ชนิด ได้แก่ หมากเก็บ ตุ๊ง ดาวกระจาย หมากฮอส ชักคะเย่อ
และวิ่งเปรี้ยว
Ø กีฬาอนุบาลคิดเพิ่มเติมได้เอง โดยพิจารณาให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการแข่งขันด้วย
-การวิจัยกลุ่มสาระและวิจัยในชั้นเรียน ให้เริ่มดำเนินการได้เลย และหลังจากเก็บรวบรวมข้อมูลสาเหตุ
ของปัญหาต่างๆ ได้แล้ว ให้มาปรึกษาครูใหญ่เพื่อหาวิธีการหรือนวัตกรรมในการแก้ปัญหา และนำไป
ดำเนินการในระหว่างเดือน พ.ย.-ธ.ค.51 (ภาคเรียนที่ 2/2550) ส่งผลการวิจัยภายใน 31
ม.ค.2551
-เรื่องการออกข้อสอบ การจัดพิมพ์ข้อสอบ การเก็บรักษาข้อสอบ การแจกจ่ายข้อสอบ การคุมสอบ
การคืนข้อสอบ การตรวจข้อสอบ ขอให้ปฏิบัติใหม่ตามระบบที่ครูใหญ่ได้กำหนดไว้โดยเคร่งครัด
-การจัดการแข่งขันกีฬาภายในกองทัพบกครั้งที่ 58 ระหว่าง 7-12 มีนาคม 2551 โรงเรียนของ
เราได้รับมอบ
Ø การแสดงในพิธีเปิด ดนตรีไทยก่อนเวลา และการแสดงกลางคืนในงานเลี้ยงรับรอง 1 ชุด
Ø การแสดงในพิธีปิด การแสดงกลางคืนในงานเลี้ยงรับรอง 1 ชุด
Ø การแสดงเชียร์บนอัฒจันทร์ ในพิธีเปิด-ปิด จำนวน 200 คน
-ให้ช่วยกันระมัดระวัง และสอดส่องดูแล เนื่องจากสถานการณ์ยาบ้าเริ่มระบาดโดยเฉพาะรอบๆ
โรงเรียนของเรา และยังมีเรื่องของหายภายในโรงเรียนเกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ เมื่อไม่นานมานี้
-ขอให้ใช้ Blog ในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์งานในกลุ่มสาระของตนเอง รวมทั้งใช้ให้เกิด
ประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอน
ขอความร่วมมือ
-ในช่วงปิดภาคเรียนเทอมนี้ มีงานที่พวกเราต้องดำเนินการร่วมกันจำนวนมาก อาจจะไม่ได้หยุดกัน
งานที่วางแผนดำเนินการไว้ในช่วงปิดเทอมนี้ ได้แก่
Ø การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครูกับครู (Best Practice) ตามที่ได้ไปอบรมมา
Ø การจัดทำร่าง วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และแผนยุทธศาสตร์ของ
โรงเรียน
Ø การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียน
Ø การปรับเปลี่ยนตารางสอน และครูผู้สอนในแต่ละกลุ่มสาระ
Ø การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้วิชาลูกเสือ-เนตรนารี
Ø การปรับปรุงงบประมาณรายรับ-รายจ่ายใหม่ ประจำภาคเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2550
Ø การปรับปรุงห้องสมุด (เน้นเรื่องห้องสมุดไซเบอร์)
Ø การตกแต่งโรงเรียนในมุมมองใหม่ (เน้นภาษาต่างประเทศ)
-ผู้ที่มักจะส่งงานช้า หรือทำงานช้า และไม่เป็นไปตามกำหนดเวลา ขอให้ปรับปรุงด้วย จะพลอยให้คน
อื่นๆ ช้าตามไป
-การแต่งกายของครู และการยืนตรงเคารพธงชาติตอนเช้า

ความคาดหวัง



เก็บมาฝาก
** กรอบความคิด 6 ประการที่มนุษย์ปฏิบัติต่อกัน (Stephen R.Covey : 1996) **
€ชนะ/ชนะ €ชนะ/แพ้ € แพ้/ชนะ
€แพ้/แพ้ €ชนะ €ไม่มีการตกลงใดๆ

......แล้วตัวเราละ...ที่ผ่านมา เรามักจะมีความคิดแบบไหน......????????

ข้อคิด
คนสังคมในโลกยุคโลกาภิวัตน์ จะถูกแบ่งชั้นกันด้วยความรู้และความชำนาญทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (พันเอกสุชาต จันทรวงศ์ 26 ก.ย.2550)

เลิกประชุม เวลา 17.30 น.

นางปัทมา นิลตา
ผู้บันทึกการประชุม

วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2550

หัวข้องานวิจัย

งานวิจัยของโรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ บูรณวิทยา มีดังนี้
กลุ่มสาระ
1. ภาษาต่างประเทศ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำตัวอักษร A – Z ไม่ได้

2. สังคมศึกษาฯ นักเรียนไม่ทิ้งขยะลงถังขยะ
3. สุขศึกษาฯ
นักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ไม่ใส่รองเท้าเวลาเดินออกนอกอาคารเรียน

4. ภาษาไทย เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ผสมคำภาษาไทยไม่ถูกต้อง
5. คณิตศาสตร์ เด็กนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ท่องสูตรคูณไม่ได้
6. วิทยาศาสตร์ เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ไม่สามารถสรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจากการทดลองในวิชาวิทยาศาสตร์
7. การงานอาชีพฯ ศึกษาการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนของครู ร.ร.ทบอ.บูรณวิทยา
8. ศิลปะ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ไม่เตรียมอุปกรณ์มาเรียนวิชาศิลปะ

การวิจัยรายบุคคล
1 ครูสิริภัทร เกษมวงศ์
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ไม่รับประทานข้าวเช้ามาโรงเรียน
2 ครูประจวบ เรืองกูล การขาดเรียนของนักเรียนชั้นอนุบาล 3/3
3 ครูนิภาภรณ์ ซอแระ นักเรียนชั้น ม.3/2 ไม่เอาหนังสือเรียนกลับบ้าน
4 ครูนันทพร วิเศษรจนา
นักเรียนชั้น ป.5/1 ไม่ทำการบ้านคณิตศาสตร์มาส่ง
5 ครูสาธิดา ธรรมแท้ แก้ปัญหาการขาดเรียนของนักเรียนชั้นอนุบาล 1/2

6. ครูจงฤดี เบญจพลชัย เด็กนักเรียนชั้นอนุบาล 3/2 ไม่ชอบเรียงรองเท้า

7. ครูชัญญา รักทิพย์ นักเรียนชั้นอนุบาล 2/3 พูดจาไม่มีหางเสียง
8. ครูสรประภา ยังกิว เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 อ่านภาษาอังกฤษไม่ออก

9. ครูระวีวรรณ พิมพ์รุน แก้ปัญหานักเรียนหญิงช่วงชั้นที่ 1 เป็นเหา
10. ครูศิริวรรณ แจ้งมุข เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ไม่กินผัก

11. ครูยุพิน สุกไพ เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ไม่ชอบอ่านหนังสือเรียน
12. ครูบุญสม อะละมาลา นักเรียนไม่ชอบแต่งเครื่องแบบลูกเสือและเนตรนารี
13. ครูวิชัย ทรัพย์ประเสริฐ เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ทำงานส่งไม่ทันเวลา
14. ครูสมใจ ไชยยุทธ์ เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 ไม่ส่งการบ้านวิชาคณิตศาสตร์
15. ครูสุกิณตนา กรุงศรีเมือง เด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 ไม่ส่งการบ้านวิชาภาษาไทย
16. ครูจันทร์เพ็ญ กิมตงเห แก้ปัญหาการขาดเรียนของนักเรียนชั้นอนุบาล 1/1
17.ครูจิรสุข เกิดปราโมทย์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/1 อ่าน ก-ฮ ได้ไม่หมด
18.ครูพิชญา แก้วศิริ นักเรียนชั้นอนุบาล 2/1 ไม่ไหว้ จนเป็นลักษณะนิสัย
19. ครูเจตนา ศิริมงคล นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ไม่ชอบเรียนวิชาคณิตศาสตร์
20. ครูชมพูนุช กาบสุวรรณ เด็กนักเรียนชั้น ป.2/2 ไม่ชอบแปรงฟันหลังรับประทานอาหารกลางวัน
21. ครูอภิญญา แจ่มใส แก้ปัญหาการทำงานเป็นกลุ่มของนักเรียนชั้น ม.1/1 ในวิชาคอมพิวเตอร์ ขาดประสิทธิภาพ
22. ครูจิตสุภางค์ ชมใจเลิศ แก้ปัญหาการทำงานเป็นกลุ่มของนักเรียนชั้น ม.1/2 ในวิชาการงานฯ ขาดประสิทธิภาพ
23. ครูจุฑารัตน์ ชิดวิลัย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 อ่านภาษาไทยไม่คล่อง
24. ครูพนิดา มนปราณีต เด็กนักเรียนชั้น ม.1/1 ไม่ส่งการบ้านวิชาคณิตศาสตร์
25. ครูปุญชรัศมิ์ ภูษณะพงษ์ เด็กชั้น ป.4/2 ไม่กล้าแสดงออกในวิชาการงานฯ 26. ครูกัญญาภัค คำสน นักเรียนชั้น อ.2/2 ไม่ไหว้เป็นลักษณะนิสัย
27. ครูกาญจนา จันทรดาสุข นักเรียนชั้น ม.3/2 ไม่ชอบส่งการบ้านวิชาวิทยาศาสตร์
28. ครูมนัสนันท์ แตงสวัสดิ์ นักเรียนชั้น ป.2 อ่านประโยคภาษาไทยยาวๆ ไม่คล่อง
29. ครูรัชนี ค่ายหนองสวง นักเรียนชั้น ป.3/2 ไม่ล้างมือก่อนรับประทานอาหารกลางวัน
30. ครูรุ่งชัย ขาวจุ้ย เด็ก ม.3 ไม่ชอบเรียนวิชานาฎศิลป์
31. ครูวราภรณ์ ทรัพย์ประเสริฐ นักเรียนชั้น ป.4/2 ไม่ส่งงานวิชาวิทยาศาสตร์
32. ครูสุกฤตา คำย้าว เด็กปัสสาระรดที่นอนเวลานอนกลางวัน

33. ครูอัมพร จุลกะนาค นักเรียนชั้น ป.6/2 อ่านออกเสียงคำควบกล้ำไม่ชัดเจน
34. ครูอุดม สุระอุดร นักเรียนชั้น อ.3/1 ไม่ยอมนอนกลางวัน

สำรวจ ณ วันที่ 25 ก.ย.50 เวลา 15.35น.

วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2550

ชวนอนุรักษ์เพลงไทยเดิมของครูเอื้อ สนุทรสนาน




ชาวธุรการขอชวนอนุรักษ์เพลงไทยเดิม เป็นงานที่บรรเลงเพลง คนวาดเสียงชุดพิเศษโดยวาด เพลงครูเป็นงานประพันธ์ทำนองโดย ครูเอื้อ สนุทรสนาน เป็นการบรรเลงโดยไวโอลิน วีโอล่าโดย ธนกฤต ชุนห์วิจิตรา ซึ่งเป็นคนวาดงานของครูเอื้อ สุนทรสนาน แห่งวงสุนทรราภรณ์ ซึ่งเป็นวงดนตรีที่ยิ่งใหญ่และยืนยาววงหนึ่งของประเทศไทย เขาจึงวาดให้เห็นได้เพียงเค้าโคลงที่สวยงาม และความลงตัวที่เป็นธรรมชาติ เพื่อบันทึก ไว้ในความทรงจำเพื่อมอบให้กับทุกคนที่มีใจรักในเสียงเพลง ซึ่งเพลงไทยสมัยก่อนนั้น มิค่อยจะฟังกันเท่าไร ช่วงนี้กลับเลื่อนหายไป โดยมีเพลงสมัยใหม่เข้ามาอยู่เสมอ เราจึงอยากเชิญชวนให้อนุรักษ์ศิลปะ การดนตรีของไทยให้คงอยู่สืบไป โดยงานประพันธ์ของท่าน


อาทิเช่น ปิศาจวสันต์,พรานทะเล,วิมานสีชมพ สาวอัมพวา
เสียแรงรักใคร่,แค้น,พรานไพร, ยังจำได้ไหม ,อ้อยใจ,ขอให้เหมือนเดิม



คุณครูท่านใดสนใจ สอบถามข้อมูล การบรรเลงเพลงไทยเดิมได้ที่ buranavitaya@hotmail.com โทร 084-7334100


ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ

วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2550

สมุนไพรเพื่อสุขภาพในยามแก่ชรา



สวัสดี คุณครูทุกท่านทางธุรการมีสาระดีๆ มาฝากกับคุณครูทุกท่าน





นั้นคือ น้ำนมราชสีห์


น้ำนมราชสีห์เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ใบค่อนข้างรี ผิวใบนุ่ม
สีม่วงแดง ดอกออกเป็นข่อแน่นสีเขียวหรือม่วงตามโคนก้านใบ
ทุกส่วนของต้นมียางสีขาวข้น ซึ่งอาจจะป็นที่มาของชื่อ
ยางสีขาวข้นนำมาทากัดหูดหรือตาปลา ส่วนต้นสดประมาณ
1 กำมือ นำมาต้มเคี่ยวจนเหลือ 1 ใน 3 เอาน้ำดื่มครั้งละ 1 แก้ว
วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น เพื่อแก้บิด ที่มีอาการปวดเบ่งและมีมูก
หรืออาจมีเลือดด้วย
ในฟิลิปปินส์ใช้ใบแห้งผสมกับดอกลำโพงแห้งมวนเป็นบุหรี่
สูบแก้หืด


ชิงช้าชาลี


ชิงช้าชาลีเป็นไม้เถาเลื้อยพันที่มีชื่อแปลก ลักษณะต้นคล้าย
กับบอระเพ็ด สังเกตุความแตกต่างได้ที่เถา เถาชิงช้าชาลีจะมีตุ่ม
น้อยกว่า และมีตุ่มคู่หนึ่งอยู่บนเส้นใบด้านหลังใบใกล้กับฐานใบ
เถาและใบของชิงช้าชาลีมีรสขม ช่วยเจริญอาหาร แก้ตานซาง
แก้กระหายน้ำ แก้สะอึก บำบัดโรคบวมและปวดตามข้อ เถาตำคั้น
เอาน้ำดื่มหรือต้มเคี่ยวเอาน้ำดื่ม ก่อนอาหารวันละ 1-2 ครั้ง เพื่อ
แก้ไข ส่วนใบสดใช้ตำพอกแผล ฝี แก้ปวด ถอนพิษ
เถาชิงช้าชาลีและบอระเพ็ด ใช้ประโยชน์ได้เหมือนกันและ
ใช้แทนกันได้ แต่เถาชิงช้าชาลีจะมีรสขมและคุณภาพอ่อกว่า
บอระเพ็ดครึ่งหนึ่ง จึงต้องใช้เถาชิงช้าชาลีเป็น 2 เท่าของขนาดที่
ใช้บอระเพ็ด





สำหรับเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่นำมาฝากไว้ก็มีเพียงแค่นี้ ถ้ามีสิ่งแปลกๆใหม่จะมานำเสนอให้อีก





จาก เราชาวธุร จัดการ

วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2550

รวมพลังหารสอง




สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ( สนพ.) กระทรวงพลังงาน จัดกิจกรรมสำหรับเยาวชนระดับอุดมศึกษาชั้นปีที่ 1-3 หรือเทียบเท่า ในโครงการ


"ตามรอยตะวัน รวมพลังหาร 2 " ตอน "บอกเธอให้รักษ์โลก" ณ จ.ลำปางระหว่างวันที่ 31 ต.ค. - 3 พ.ย.นี้ เพื่อให้เยาวชนเกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพลังงานทางเลือก และสามารถนำข้อมูลที่ได้รับไปเผยแพร่อย่างถูกต้อง เยาวชนที่สนใจสอบถามรายละเอียด โทร 0-2612-1555 หรือสมัครทางเว็บไซด์ http://www.thaienergynews.com/ และ http://www.eppo.go.th/ หมดเขตรับสมัครวันที่ 20 ก.ย.นี้

ชวนไปเที่ยวพักผ่อนวันปิดภาคเรียน












.....คุณครูทุกท่านคะ อย่าซีเรียสกับการทำงานนะคะ เราชาวธุรการจะพาครูทุกท่านนำเที่ยวซึ่งไม่ไกลจากราชบุรี นั้น ก็คือกรุงเทพมหานครนั้นเองคะ เราจะไปไหว้พระ 9 วัดด้วยกัน คือเริ่มจาก การเดินทาง จุดแรกก็คือ วัดพระแก้ว ,วัดพระเชตุพน,วัดโพธิ์ ,วัดกัลยา,วัดอรุณราชวราราม,วัดไทร,วัดหมู,วัดธรรมมงคล,วัดชนะสงคราม หลังจากนั้นเราก็จะไปรับประทานอาหารกลางวันที่ภัตตาคารริมน้ำเจ้าพระยา
แค่ฟังเพียงน้ำจิ้ม ก็อยากจะไปกับพวกเราแล้วซิคะ คุณครูที่ท่านใดสนใจติดต่อได้ที่




การตัดชุดผ้าไทย

ครูท่านใด สนใจที่จะตัดชุดผ้าไทย สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ดังร้านต่อไปนี้นะค่ะ
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี
ข้อมูลผ้าไทยในจังหวัดราชบุรี
--------------------------------


ร้านจำหน่ายผ้า ( แบบสำเร็จรูปและแบบชิ้น )
๑. ร้านคุณแหม่ม
ที่ตั้ง ๑๐๗ ม.๓ ต.คูบัว อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี ๗๐๐๐๐
จำหน่ายผ้าจกไทยยวน /ผ้าฝ้าย
แบบชิ้น ราคา ๒๔๐ – ๙,๐๐๐ บาท
แบบสำเร็จรูป ราคา ๙๐๐ – ๒,๕๐๐ บาท
๒. ร้านผ้ามณี
ที่ตั้ง ๑๐๔ ม.๖ ต.คูบัว อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี ๗๐๐๐๐
จำหน่ายผ้าจกไทยยวน / ผ้าฝ้าย
แบบชิ้น ราคา ๒๔๐ – ๑๔,๐๐๐ บาท
แบบสำเร็จรูป ราคา ๕๐๐ – ๒,๕๐๐ บาท
๓. ร้านแพรทองไหมไทย
จำหน่ายผ้าไหม/ผ้าพื้นเมือง
ที่ตั้ง ๓๕๙ ต.หน้าเมือง อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี ๗๐๐๐๐
แบบชิ้น ราคา ๕๐๐ – ๓,๐๐๐ บาท
แบบสำเร็จรูป ราคา ๗๕๐ – ๒,๐๐๐ บาท
๔. ร้านอุไรวรรณไหมไทย
จำหน่ายผ้าไหม/ผ้าพื้นเมือง
ที่ตั้ง ๓๕๓/๑๑ ถ.ศรีสุริยวงศ์ ต.หน้าเมือง อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี ๗๐๐๐๐
แบบชิ้น ราคา ๑,๐๐๐ – ๔๐,๐๐๐ บาท
แบบสำเร็จรูป ราคา ๑,๐๐๐ – ๕,๐๐๐ บาท
๕. ร้านผ้าเมือง
จำหน่ายผ้าไหม/ผ้าพื้นเมือง
ที่ตั้ง ๑๓๓/๑ ต.ดอนตะโก อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี ๗๐๐๐๐
แบบชิ้น ราคา ๕๐๐ – ๔,๐๐๐ บาท
ร้านตัดเย็บผ้าไทยฝีมือดี
๑. ร้านปริญญากร
ที่ตั้ง ๘๐/๑๑ ถ.ราษฎรยินดี ต.หน้าเมือง อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี ๗๐๐๐๐
ตัดเย็บ ราคา/ชุด ๑,๘๐๐ - ๓,๕๐๐ บาท

๒. ร้านเรืองรอง
ที่ตั้ง ๑๖๗/๒๔ ถ.ราษฎรยินดี ต.หน้าเมือง อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี ๗๐๐๐๐
ตัดเย็บ ราคา/ชุด ๑,๕๐๐ - ๑,๗๐๐ บาท

๓. ร้านณัทญา
ที่ตั้ง ๘๕/๔๒ ถ.คฑาธร ต.หน้าเมือง อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี ๗๐๐๐๐
ตัดเย็บ ราคา/ชุด ๑,๘๐๐ - ๓,๕๐๐ บาท
๔. ร้านนิออร์
ที่ตั้ง ติดธนาคารทหารไทย ต.หน้าเมือง อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี ๗๐๐๐๐
ตัดเย็บ/ชุด ราคา/ชุด ๒,๐๐๐ - ๓,๐๐๐ บาท
๕. ร้านจรรยา
ที่ตั้ง ตรงข้ามธนาคารทหารไทย ต.หน้าเมือง อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี ๗๐๐๐๐
ตัดเย็บ ราคา/ชุด ๒,๐๐๐ - ๓,๐๐๐ บาท
๖. ร้านอาสม
ที่ตั้ง ติดธนาคารกสิกรไทย ถ.ไกรเพชร ต.หน้าเมือง อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี ๗๐๐๐๐
ตัดเย็บ ราคา/ชุด ๒,๐๐๐ - ๔,๐๐๐ บาท
๗. ร้านจอย
ที่ตั้ง ถ.ราษฎรยินดี ซ. ๕ ต.หน้าเมือง อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี ๗๐๐๐๐
ตัดเย็บ/ชุด ราคา/ชุด ๒,๕๐๐ - ๔,๐๐๐ บาท
๘. ร้านวิวัลย์
ที่ตั้ง ถ.ราษฎรยินดี ซ. ๑ ต.หน้าเมือง อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี ๗๐๐๐๐
ตัดเย็บ ราคา/ชุด ๑,๕๐๐ - ๓,๐๐๐ บาท
๙. ร้านเพชรรัตน์
ที่ตั้ง ถ.ราษฎรยินดี ซ. ๒ ต.หน้าเมือง อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี ๗๐๐๐๐
ตัดเย็บ ราค/ชุด ๑,๕๐๐ - ๓,๐๐๐ บาท

แหล่งผลิตผ้าไทย
๑. สหกรณ์การเกษตรไท – ยวนราชบุรี จำกัด ( ผ้าคูบัว )
ผลิตและจำหน่ายผ้าจกไทยยวน / ผ้าฝ้าย
ที่ตั้ง ๑๐๑ ม. ๖ ต.คูบัว อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี ๗๐๐๐๐
แบบชิ้น ราคา ๒๔๐ – ๕,๐๐๐ บาท
แบบสำเร็จรูป ราคา ๕๐๐ – ๒,๕๐๐ บาท
๒. ศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านวัดนาหนอง ( ผ้าดอนแร่ )
ผลิตและจำหน่ายผ้าจกไทยยวน / ผ้าฝ้าย
ที่ตั้ง หมู่ 2 บ้านหนองขาม ต.ดอนแร่ อ. เมืองราชบุรี จ. ราชบุรี 70000
แบบชิ้น ราคา ๒๔๐ – ๖,๐๐๐ บาท
แบบสำเร็จรูป ราคา ๕๐๐ – ๒,๐๐๐ บาท
๓.กลุ่มทอผ้าพื้นเมือง
ผลิตและจำหน่ายผ้าจกไทยยวน/ผ้าฝ้าย
ที่ตั้ง 80 หมู่ 9 บ้านหนองมะตูม ต. ดอนแร่ อ. เมืองราชบุรี จ. ราชบุรี 70000
แบบชิ้น ราคา ๒๔๐ – ๔,๐๐๐ บาท
๔.กลุ่มหัตถกรรมทอผ้าพื้นบ้าน
ผลิตและจำหน่ายผ้าจกไทยยวน/ผ้าฝ้าย
ที่ตั้ง 2 หมู่ 5 ต.คูบัว อ. เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี 70000
แบบชิ้น ราคา ๒๔๐ – ๔,๐๐๐ บาท
๕. กลุ่มผ้าทอบ้านห้วยปลาดุก
ผลิตและจำหน่ายผ้าจกไทยยวน / ผ้าฝ่ายสอดดิ้น
ที่ตั้ง 32/2 หมู่ 7 บ้านห้วยปลาดุก ต.หินกอง อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี 70000
แบบชิ้น ราคา ๒๔๐ – ๔,๐๐๐ บาท
๖.กลุ่มส่งเสริมอาชีพทอผ้าจกบ้านใต้
ผลิตและจำหน่ายผ้าจกไทยยวน
ที่ตั้ง ม. ๔ ต.คูบัว อ.เมืองราชบุรี จ. ราชบุรี ๗๐๐๐๐
แบบชิ้น ราคา ๒๔๐ – ๕,๐๐๐ บาท
๗. กลุ่มทอผ้าจกคุณยายซ้อน กำลังหาญ
ผลิตผ้าซิ่นตีนจก
ที่ตั้ง ๑๒ ม. ๑๒ ต.คูบัว อ.เมืองราชบุรี จ. ราชบุรี ๗๐๐๐๐
แบบชิ้น ราคา ๑,๒๐๐ – ๗,๐๐๐ บาท
๘. ศูนย์หัตถกรรมผ้าทอพื้นเมืองวัดรางบัว
ผลิตและจำหน่ายผ้าจกไทยยวน
ที่ตั้ง 97/3 หมู่ 1 ต. รางบัว อ. จอมบึง จ. ราชบุรี 70150
แบบชิ้น ราคา ๒๔๐ – ๕,๐๐๐ บาท
๙.กลุ่มพัฒนาอาชีพผ้ามอญทอมือ
ผลิตและจำหน่ายผ้าถุง/ผ้าขาวม้า
ที่ตั้ง วัดม่วง หมู่ ๕ ต.บ้านม่วง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ๗๐๑๑๐
แบบชิ้น ราคา ๓๕๐ – ๑,๐๐๐ บาท
๑๐.ศูนย์ผ้าทอไทยทรงดำ
ผลิตและจำหน่ายผ้าลายแตงโม
ที่ตั้ง ๑๒๐ ม.๑ ต.ห้วยยางโทน อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี ๗๐๑๔๐
แบบชิ้น ราคา ๓๐๐ – ๑,๐๐๐ บาท
๑๑. กลุ่มพัฒนาสตรีบ้านบึงเหนือ
ผลิตและจำหน่ายผ้าทอกะเหรี่ยง
ที่ตั้ง ม. ๖ ต.บ้านคา กิ่ง อ.บ้านคา จ.ราชบุรี ๗๐๑๘๐
แบบชิ้น ราคา ๘,๐๐๐ – ๑๕,๐๐๐ บาท
๑๒. ศูนย์ผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือบ้านไร่ ผลิตและจำหน่ายผ้าขาวม้า/ผ้าฝ้าย
ที่ตั้ง ๙๙/๙ หมู่ ๔ ( อ.บ.ต. บ้านไร่ ) ต.บ้านไร่ อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี ๗๐๐๐๐
แบบชิ้น ราคา ๑๕๐ - ๖๐๐ บาท
๑๓. ผ้าทอบ้านชุกหว้า
ผลิต/จำหน่ายผ้าขาวม้า
ที่ตั้ง ม. ๖ ต.จอมบึง อ .จอมบึง จ.ราชบุรี ๗๐๑๕๐
แบบชิ้น ราคา ๑๕๐ - ๖๐๐ บาท
๑๔. กลุ่มไหมไทยปัศจิม
ผลิตผ้าไหม
ที่ตั้ง 30/3 รางวาลย์ หมู่ 16 ถ.แสงชูโต ต.ท่าผา อ. บ้านโป่ง จังหวัด ราชบุรี ๗๐๑๑๐
แบบชิ้น ราคา ๑,๐๐๐ – ๕,๐๐๐ บาท
๑๕. กลุ่มผ้าทอมือยกมุข
ผลิตผ้าทอมือยกมุข
ที่ตั้ง 6/1 ม. ๔ ต. เจดีย์หัก อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี ๗๐๐๐๐
แบบชิ้น ราคา ๒,๐๐๐ – ๕,๐๐๐ บาท
๑๖.ร้านไหมทอง
และผลิต จำหน่ายผ้าไหม
ที่ตั้ง ถ. ทรงพล ต. ปากแรต อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี
แบบชิ้น ราคา ๑,๕๐๐ – ๕,๐๐๐ บาท
แหล่งศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับผ้า
๑. จิปาถะภัณฑสถานบ้านคูบัว
ที่ตั้ง วัดโขลงสุวรรณคีรี ต.คูบัว อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี
๒.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติราชบุรี
ที่ตั้ง ถนนวรเดช ต.หน้าเมือง อ.เมืองราชบุรี จ. ราชบุรี
๓. ศูนย์สืบทอดศิลปะผ้าจกราชบุรี
ที่ตั้ง วัดแคทราย ต.คูบัว อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี
นโยบายและบทบาทในการสนับสนุนการแต่งกายด้วยผ้าไทย
๑. รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ให้ส่วนราชการในจังหวัดร่วมแต่งกายด้วยผ้าไทย สัปดาห์ละ ๑ วัน และในโอกาสร่วมกิจกรรม พิธีเปิดงานต่างๆ
๒. ขอความร่วมมือจากแหล่งผลิตผ้าไทย ร้านจำหน่ายและร้านตัดเย็บ ลดราคาให้แก่ผู้ซื้อ หรือผู้ที่ตัดเย็บชุดผ้าไทย
๓.นโยบายและกิจกรรมโครงการที่ส่งเสริม สนับสนุน เผยแพร่ ให้เกิดการประยุกต์ใช้ผ้าพื้นเมือง
- จัดประกวดธิดาผ้าทอพื้นเมือง ในโครงการสืบสานศิลปวัฒนธรรม ปี ๒๕๔๙
- จัดประกวดธิดาผ้าทอ ในโครงการมหกรรมวัฒนธรรมภาคกลาง ปี ๒๕๕๐
- จัดประกวดนางงามราชบุรี ในงานกาชาดเที่ยวราชบุรี ปี ๒๕๕๐
- จัดเดินแฟชั่นโชว์ผ้าไทย ในงานกาชาดเที่ยวราชบุรี ปี ๒๕๕๐
- ให้ข้าราชการแต่งกายด้วยผ้าไทยทุกวันศุกร์ตามนโยบายของจังหวัด และในการเปิดงาน กิจกรรมพิธีต่างๆ
- ประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ส่วนราชการต่าง ๆร่วมแต่งกายผ้าไทย
๔. ปัญหาที่พบ
- ได้รับความร่วมมือจากส่วนราชการบางหน่วยงานเท่านั้น
๕. การแก้ไข
- ให้เพิ่มสื่อประชาสัมพันธ์ รณรงค์จากส่วนกลางให้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้ประชาชนรู้สึกว่ามีความภาคภูมิใจที่ได้สวมใส่ผ้าไทย
- จัดกิจกรรมส่งเสริมผ้าไทย เช่น เดินแฟชั่น สัมมนา ออกมาตามจังหวัดต่างๆ บ้าง
๖. ปัจจัยในการบริโภคผ้าไทยในจังหวัดและแนวการส่งเสริม
- ราคาของผ้า ไม่ได้รับความร่วมมือในการลดราคา เนื่องจากผู้ประกอบการมีต้นทุนในการ ผลิตและการจัดจำหน่าย รวมทั้งสิ้นค้าไม่ได้มียอดจำหน่ายสูง

ควรให้ภาครัฐเข้ามาส่งเสริมเรื่องการส่งออก หรือจัดให้มีการจำหน่ายใน สถานที่ หรือตามส่วนราชการ ต่างๆ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพื่อเพิ่มยอดจำหน่าย
และเป็นการเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้บริโภค
- จัดประกวด คัดเลือกหน่วยงานที่ร่วมรณรงค์แต่งกายผ้าไทยอย่างเหมาะสม
- จัดประกวดการออกแบบลายผ้าพื้นเมืองแบบใหม่ๆ
- ส่งเสริม รณรงค์ ขอความร่วมมือให้สถานศึกษากำหนดให้เยาวชนแต่งกายด้วยผ้าไทย ผ้าพื้นเมือง สัปดาห์ละ ๑ วัน





วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2550

การรับสมัครนักเรียน

การรับสมัครนักเรียนโรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ บูรณวิทยา ค่ายบุรฉัตร
โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ บูรณวิทยารับสมัครนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทั้นักเรียนชายและนักเรียนหญิงวันที่รับสมัคร เริ่มรับสมัครตั้งแต่เดือนมีนาคมพุทธศักราช 2551 โดยติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ฝ่ายธุรการโรงเรียนในวันเวลาทำการ
คุณสมบัติของผู้สมัคร
1.ระดับอนุบาล
**ระดับอนุบาลปีที่ 1 รับนักเรียนอายุ 3 ขวบ ( เกิดไม่เกินวันที่ 16 พฤษภาคม 2551 )
**ระดับอนุบาลปีที่ 2 รับนักเรียนอายุ 4 ขวบ
**ระดับอนุบาลปีที่ 3 รับนักเรียนอายุ 5 ขวบ
2.ระดับประถมศึกษาปีที่ 1 รับนักเรียนอายุ 6 ขวบ
3.ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รับนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามหลักสูตรกระทรวง ศึกษาธิการ ตั้งแต่อายุ 12 ปี
หลักฐานที่ต้องนำมาสมัคร
1. สำเนาสุติบัตรของนักเรียนจำนวน 1 ฉบับ
2. สำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อบิดา มารดาและนักเรียน อย่างละ 1 ฉบับ
3. สำเนาบัตรประชาชนของบิดา มารดา อย่างละ 1 ฉบับ
4. รูปถ่ายนักเรียน 1 นิ้ว จำนวน 3 รูป
5. ในกรณีที่บิดาหรือมารดาถึงแก่กรรม ต้องมีมรณบัตรแนบมาด้วย จำนวน 1 ฉบับ
6. ในกรณีที่บิดา มารดาหรือนักเรียนเปลี่ยนชื่อ นามสกุล ต้องมีใบแจ้งแนบมาด้วยจำนวน 1 ฉบับ
อย่าช้ารีบสมัครด่วนรับจำนวนจำกัด (เบอร์โทรศัพท์ 0 - 3239-1073 )