วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551

พระพี่นางฯ สิ้นพระชนม์

พระราชประวัติ
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (ประสูติ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 ณ กรุงลอนดอน) เป็นสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นพระธิดาพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์) พระราชโอรสในรัชกาลที่ ๕ และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า)และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (หม่อมสังวาลย์ มหิดล)
พระประสูติกาลเมื่อแรกประสูติ ดำรงพระอิสริยยศเป็นหม่อมเจ้าหญิงกัลยาณิวัฒนา มหิดล (พระนามพระราชทานพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว)สถาปนาเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากัลยาณิวัฒนา โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวสถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา โดยคณะผู้สำเร็จราชการในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลทรงกรมเป็น กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ทรงเป็นพระราชวงศ์ฝ่ายในที่ทรงกรมเป็นพระองค์แรกและพระองค์เดียวในรัชกาล และเป็นพระราชวงศ์ทรงกรมพระองค์เดียวในปัจจุบัน)เมื่อพระชนมายุครบ ๗๒ พรรษา เสมอด้วยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ชีวิตสมรส

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ทรงฉายพร้อมท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม พระธิดาทรงศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนมาแตร์เดอี จากนั้นเสด็จไปศึกษาต่อที่อินเตอร์เนชั่นแนลสกูล กรุงเจนีวา และทรงสำเร็จปริญญาด้านเคมีจากมหาวิทยาลัยโลซาน เมืองโลซาน ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อทรงเสกสมรสกับ พันเอกอร่าม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์พระองค์มีมีพระธิดาหนึ่งคนจากการเสกสมรสครั้งนั้น คือท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม (สมรสกับนายสินธู ศรสงครามมีบุตร คือคุณจิทัศ ศรสงคราม) สถาปนากลับคืนคงพระราชศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ทุกประการโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงเสกสมรสอีกครั้งกับ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช (พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย และหม่อมแผ้ว) สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ได้ทรงบำเพ็ญพระกรณียกิจมากมายพระราชทานความช่วยเหลือให้แก่ประเทศชาติ แบ่งเบาพระราชภาระของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีโครงการในพระอุปถัมภ์หลายร้องโครงการ ทั้งด้านการแพทย์ ประวัติศาสตร์ ดนตรี ศิลปะ สัตว์เลี้ยง และ ฯลฯ นอกจากนี้ยังทรงพระอัจริยภาพในด้านการประพันธ์ พระนิพนธ์ที่มีชื่อเสียงเช่น เวลาเป็นของมีค่า แม่เล่าให้ฟัง จุฬาลงกรณ์ราชสันตติวงศ์ และ มหามงกุฎราชสันตติวงศ์
แต่สิ่งที่ไม่ใคร่มีผู้ใดทราบคือ ทรงมีพระปรีชาสามารถในการขับเครื่องบินปีก 2 ชั้น และทรงขับเฮลิคอปเตอร์ได้อีกด้วย ทรงโปรดสัตว์ทุกประเภท แต่ที่มีขนาดเหมาะสมกับพระตำหนักคือสุนัข พระองค์ทรงรับคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไว้ในพระอุป
ถัมภ์ด้วยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ได้เสด็จทรงประพาสทั้งในและต่างประเทศ เพื่อบำเพ็ญพระกรณียกิจ เช่นโครงการแพทย์ พอสว. (สืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) และเพื่อทรงส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศไทยในฐานะที่มีเจ้าฟ้าหญิงที่ทรงบำเพ็ญพระกรณียกิจมหาศาลอย่างไม่รู้จักทรงเหนื่อยยากเพื่อความสุขของประชาชนปัจจุบันประทับที่วังเลอดิส ถนนสุขุมวิททรงดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ มาเป็นระยะเวลานานกว่า ๗๒ ปีแล้ว
"ความเรียบง่าย" พระจริยวัตรอันงดงาม สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของพสกนิกรว่า พระจริยวัตรและพระกรณียกิจของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ยังประโยชน์ให้ชาวไทยมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ดังจะเห็นได้จากโครงการในพระอุปถัมภ์หลากหลายโครงการทั้งด้านการแพทย์ ประวัติศาสตร์ ดนตรี ศิลปะ สัตว์เลี้ยงอาทิ มูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พอ.สว.) แห่งประเทศไทย, มูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิควิชาการ และพัฒนาการมาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา มูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทย มูลนิธิขาเทียมในพระบรมราชูปถัมภ์ มูลนิธิเด็กโรคหัวใจ เป็นต้นไม่เพียงแต่พระเมตตาที่เป็นที่ชื่นชมแล้ว พระจริยวัตรในการดำเนินพระองค์ด้วย "ความเรียบง่าย" ก็เป็นที่ประจักษ์เช่นเดียวกันนายจิทัศ ศรสงคราม บุตรชายของท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ซึ่งมีศักดิ์เป็น "หลาน" บอกเล่าความประทับใจต่อ "สมเด็จยาย" ว่า แม้พระองค์จะไม่ค่อยทรงแนะนำอะไร แต่ลูกหลานจะสามารถซึมซับความงดงามในพระจริยวัตรได้จากการดำเนินพระองค์ ทั้งเรื่องการเสวย ของใช้ส่วนพระองค์ ทรงกระทำทุกอย่างอย่างเรียบง่าย และสมถะ ไม่หวือหวาฟุ่มเฟือย สุรุ่ยสุร่าย แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ท่านทรงเน้นย้ำกับครอบครัว คือ การวางตัวให้เหมาะสมถูกกาละเทศะ การตรงต่อเวลาอย่าทำให้ผู้อื่นคอย และความถูกต้องตามขั้นตอนพิธีการ
อาการพระประชวร แถลงการณ์ฉบับที่ 1 และแถลงการณ์ฉบับที่ 38 แถลงการณ์สำนักพระราชวัง ฉบับที่ 1สำนักพระราชวัง ออกแถลงการณ์เรื่อง สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงประชวร ฉบับที่ 1 ความว่าเมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2550 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ทรงมีพระอาการผิดปกติเกี่ยวกับพระนาภี คณะแพทย์ได้ถวายตรวจพระวรกายและเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ พบมะเร็ง จึงได้กราบทูลเชิญให้ประทับรักษาพระองค์ ณ โรงพยาบาลศิริราข โดยถวายการรักษาด้วยพระโอสถ พระอาการโดยรวมดีขึ้นบางระยะ ทรงและทรุดลงบางช่วงเวลาเช้าวันนี้ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มีพระวรกายด้านขวาอ่อนแรง คณะแพทย์ได้ถวายตรวจพระสมองด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ พบว่ามีเนื้อสมองด้านซ้ายตายเป็นวงกว้าง จากเส้นเลือดสมองอุดตัน จึงได้ถวายพระโอสถรักษา และเฝ้าติดตามพระอาการอย่างใกล้ชิดจึงขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันสำนักพระราชวัง15 มิถุนายน 2550 แถลงการณ์สำนักพระราชวัง ฉบับที่ 38สำนักพระราชวัง ออกแถลงการณ์เรื่อง สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงประชวร ฉบับที่ 38 ความว่าวันนี้ (1 ม.ค.) คณะแพทย์ผู้ถวายการรักษา สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ รายงานว่า สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มีพระอาการโดยรวมทรุดลง ไม่รู้สึกพระองค์ หายพระทัยอ่อนลง พระวักกะ (ไต) ไม่ทำงาน คณะแพทย์ฯ ได้ถวายการรักษาตามพระอาการอย่างใกล้ชิด

จึงขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันสำนักพระราชวัง1 มกราคม 2551

ประกาศสำนักพระราชวัง พระพี่นางฯ สิ้นพระชนม์แล้วสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงสิ้นพระชนม์แล้ว เมื่อเวลา 02.54 น. ของเช้าวันพุธที่ 2 มกราคม 2551 ที่ผ่านมา หลังทรงเข้ารับการรักษาพระอาการประชวรที่โรงพยาบาลศิริราชหลายสัปดาห์


ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ

ข้าพระพุทธเจ้า ฝ่ายธุรการ ร.ร.ทบอ.บูรณวิทยา

วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2550

วันปีใหม่..คืออะไร

ความหมายของวันขึ้นปีใหม่
ความหมายของวันขึ้นปีใหม่ ตามพจนานุกรม ฉบับราชตบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า " ปี" ไว้ดังนี้ ปี หมายถึง เวลา ชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน : เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ
ความเป็นมาของ วันขึ้นปีใหม่
ในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้งคือ ครั้งแรกถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่ง ตรงกับเดือนมกราคม ครั้งที่ 2 กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน
การกำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน 2 ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก ต่อมาได้ถือเอาทางสุริยคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็น วันขึ้นปีใหม่อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ไม่สู้จะมีการรื่นเริงอะไรมากนัก สมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นใน กรุงเทพฯเป็นครั้งแรก
การจัดงานวันขึ้นปีใหม่ที่ได้เริ่มเมื่อวันที่ 1 เมษายน ได้แพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อๆมา และในปี พ.ศ.2479 ก็ได้มีการ จัดงานรื่นเริงปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด วันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ในสมัยนั้นทางราชการเรียกว่า วันตรุษสงกรานต์
ต่อมาได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ซึ่งมีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็น วันขึ้นปีใหม่เป็นต้นไป
เหตุผลที่ทางราชการได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายนมาเป็นวันที่ 1 มกราคม ก็คือ

1. ไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ
2. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา
3. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก
4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย

กิจกรรมที่ชาวไทยส่วนใหญ่มักจะยึดถือปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่ได้แก่
1. การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ
2. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร
3. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้น
กิจกรรมใน วันขึ้นปีใหม่
วันที่ 1 มกราคม ของทุกปี จะมีการทำบุญตักบาตรและอุทิศส่วนกุศลผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ฟังเทศน์ ปล่อยปลา ปล่อยนก อวยพรซึ่งกันและกัน หรืออาจจะส่งการ์ดบัตรอวยพร ของขัวญไหว้ผู้ใหญ่เพื่อรับพร และสรงน้ำพระพุทธรูป ประดับธงชาติ และจะเตรียมทำความสะอาดบ้าน และที่พักอาศัย
เพลงวันปีใหม่ (เพลงพรปีใหม่ เพลงพระราชนิพนธ์ในหลวง)
ทำนอง: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชคำร้อง: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ

สวัสดีวันปีใหม่พา ให้บรรดาเราท่านรื่นรมย์ฤกษ์ยามดีเปรมปรีดิ์ชื่นชม ต่างสุขสมนิยมยินดีข้าวิงวอนขอพรจากฟ้า ให้บรรดาปวงท่านสุขศรีโปรดประทานพรโดยปรานี ให้ชาวไทยล้วนมีโชคชัยให้บรรดาปวงท่านสุขสันต์ ทุกวันทุกคืนชื่นชมให้สมฤทัยให้รุ่งเรืองในวันปีใหม่ ผองชาวไทยจงสวัสดีตลอดปีจงมีสุขใจ ตลอดไปนับแต่บัดนี้ให้สิ้นทุกข์สุขเกษมเปรมปรีดิ์ สวัสดีวันปีใหม่เทอญ
เกี่ยวกับ เพลงพรปีใหม่
เพลงพระราชนิพนธ์ พรปีใหม่ เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 13 ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2494 เมื่อเสด็จนิวัตพระนคร และประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต มีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานพรปีใหม่ แก่บรรดาพสกนิกรไทยด้วยเพลง จึงทรงพระราชนิพนธ์เพลง "พรปีใหม่" และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องเป็นคำอำนวยพรปีใหม่ แล้วพระราชทานแก่วงดนตรี 2 วง คือ วงดนตรีนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำออกบรรเลง ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวงดนตรีสุนทราภรณ์ นำออกบรรเลง ณ ศาลาเฉลิมไทย ในวันปีใหม่ วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2495


ประวัติวันคริสต์มาส


คุณครูทราบหรือไม่ว่า..วันคริสต์มาส..หมายถึงอะไร
ถ้าไม่รู้ ลองอ่านดู

คำว่า คริสต์มาส ภาษาอังกฤษเขียนว่า Christmas ดังนั้นอย่าลืม "ต์" อยู่ที่คำว่า คริสต์ (Christ) ไม่ใช่คำว่า "มาส" (Mas) Christmas มาจากภาษาอังกฤษโบราณว่า Christes Maesse แปลว่า บูชามิสซาของพระคริสตเจ้า โดยพบคำนี้ครั้งแรกในเอกสารโบราณในปี ค.ศ.1038 ภายหลังแปรเปลี่ยนมาเป็นคำว่า Christmas ประวัติความเป็นมาของวันคริต์มาส ซึ่งเป็นวันเกิดของพระเยซูนั้น ตามหลักฐานในพระคัมภีร์บันทึกไว้ว่า พระเยซูเจ้าประสูติในสมัยที่จักรพรรดิซีซ่าร์ ออกัสตัส แห่งโรมัน ซึ่งทรงสั่งให้จดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งแผ่นดิน โดยฝ่ายคีรีนิอัส เจ้าเมืองซีเรียก็ขานรับนโยบาย อย่างไรก็ตามในพระคัมภีร์ ไม่ได้ระบุว่า พระเยซูประสูติวันหรือเดือนอะไร ด้านนักประวัติศาสตร์วิเคราะห์ว่า เดิมทีวันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันที่จักรพรรดิเอาเรเลียนแห่งโรมัน กำหนดให้เป็นวันฉลองวันเกิดของสุริยเทพ โดยตั้งแต่ปีค.ศ.274 ชาวโรมันซึ่งส่วนใหญ่นับถือเทพเจ้าฉลองวันนี้เสมือนว่า เป็นวันฉลองของพระจักรพรรดิไปในตัวด้วย เพราะจักรพรรดิก็เปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ ที่ให้ความสว่างแก่ชีวิตมนุษย์ แต่ชาวคริสต์ที่อยู่ในจักรวรรดิโรมัน รวมถึงชาวโรมันที่เปลี่ยนไปนับถือคริสต์อึดอัดใจที่จะฉลองวันเกิดของสุริยเทพ จึงหันมาฉลองการบังเกิดของพระเยซูเจ้าแทน หลังจากที่ชาวคริสต์ถูกควบคุมเสรีภาพทางศาสนาตั้งแต่ปีค.ศ.64-313 จนถึงวันที่ 25 ธันวาคม ปีค.ศ.330 ชาวคริสต์จึงเริ่มฉลองคริสต์มาสอย่างเป็นทางการและเปิดเผย สำหรับองค์ประกอบในงานฉลองวันคริสต์มาสมีความเป็นมาเช่นกัน เริ่มที่คำอวยพรว่า Merry Christmas สุขสันต์วันคริสต์มาส คำว่า Merry ในภาษาอังกฤษโบราณ แปลว่า สันติสุขและความสงบทางใจ จึงเป็นคำที่ใช้อวยพรคนอื่น ขอให้เขาได้รับสันติสุข และความสงบทางใจ เนื่องในโอกาสเทศกาลคริสต์มาส ต่อมาคือ "เพลง" ที่ใช้เฉลิมฉลองทั้งจังหวะช้าและจังหวะสนุกสนาน ส่วนใหญ่แต่งในยุคพระราชินีวิกตอเรียแห่งอังกฤษ (ค.ศ.1840-1900) ปัจจุบันแพร่หลายไปทั่วโลกโดยแปลเป็นภาษาต่างๆ มากมาย สำหรับ "ซานตาคลอส" เซนต์นิโคลัสแห่งเมืองมีรา สมัยศตวรรษที่ 4 ได้รับการขนานนามให้เป็นซานตาคลอสคนแรก เพราะวันหนึ่งท่านปีนขึ้นไปบนหลังคาบ้านของเด็กหญิงยากจนคนหนึ่งแล้วทิ้งถุงเงินลงไปทางปล่องไฟ บังเอิญถุงเงินหล่นไปทางถุงเท้าที่เด็กหญิงแขวนตากไว้ข้างเตาผิงพอดี ปิดท้ายที่ต้นคริสต์มาส หรือต้นสนที่นำมาประดับประดาด้วยดวงไฟหลากสีสัน ต้องย้อนไปศตวรรษที่ 8 เมื่อเซนต์บอนิเฟส มิชชันนารีชาวอังกฤษที่เดินทางไปประกาศเรื่องพระเจ้าในเยอรมนี ได้ช่วยเด็กที่กำลังจะถูกฆ่าเป็นเครื่องสังเวยบูชาที่ใต้ต้นโอ๊ก โดยเมื่อโค่นต้นโอ๊กทิ้งก็ได้พบต้นสนเล็กๆ ต้นหนึ่งขึ้นอยู่โคนต้นโอ๊ก ท่านจึงขุดให้คนที่ร่วมพิธีกรรมเหล่านั้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของชีวิต และตั้งชื่อว่า ต้นกุมารพระคริสต์ ต่อมามาร์ติน ลูเธอร์ ผู้นำคริสตจักรชาวเยอรมัน ตัดต้นสนไปตั้งในบ้านในเดือนธันวาคม ปีค.ศ.1540 หลังจากนั้นในศตวรรษที่ 19 ต้นคริสต์มาสจึงเริ่มแพร่ไปสู่ประเทศอังกฤษและทั่วโลก คริสต์มาส คือการฉลองการบังเกิดของพระเยซูเจ้า เราเฉลิมฉลองกันในวันที่ 25 ธันวาคม คำว่า คริสต์มาส เป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ Christmas ซึ่งมาจากภาษาอังกฤษโบราณว่า Christes Maesse ที่แปลว่า บูชามิสซาของพระคริสตเจ้า เพราะการร่วมพิธีมิสซา เป็นประเพณี สำคัญที่สุด ที่ชาวคริสต์ถือปฎิบัติกันในวันคริสต์มาส คำว่า Christes Maesse พบครั้งแรกในเอกสาร โบราณ เป็นภาษาอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1038 และคำนี้ก็แปรเปลี่ยนมาเป็นคำว่า Christmas คำทักทายที่เราได้ฟังบ่อย ๆ ในเทศกาลนี้คือ Merry Christmas คำว่า Merry ในภาษาอังกฤษโบราณ แปลว่า สันติสุขและความสงบทางใจ เพราะฉะนั้น คำนี้จึงเป็นคำที่ใช้อวยพร คนอื่น ขอให้เขาได้รับสันติสุข และความสงบทางใจ เนื่องในโอกาสเทศกาลคริสต์มาส
ต้นคริสต์มาส
ในสมัยโบราณ "ต้นคริสต์มาส" หมายถึง ต้นไม้ในสวนสวรรค์ ซึ่งอาดัมและเอวาไปหยิบ ผลไม้มากิน และทำบาป ไม่เชื่อฟังพระเจ้า (ปฐก.3:1-6) ตั้งแต่ศตวรรษที่ 11 ชาวคริสต์แสดงละครที่ หน้าวัด ถึงความหมายของคริสต์มาส และเอาต้นไม้ต้นหนึ่งไว้ตรงกลาง เพื่อประดับฉาก แสดงถึงบาปกำเนิดของอาดัมและเอวา ต้นไม้ที่ใช้เป็นต้นสน เนื่องจากเป็นต้นไม้ ที่หาง่ายที่สุด ในประเทศ เหล่านั้น การแสดงละครคริสต์มาสแบบนี้ มีมาเป็นเวลาช้านานหลายร้อยปี จนถึงศตวรรษที่ 15 พระสังฆราชหลายแห่งได้ห้ามแสดง เนื่องจากการแสดงนั้น กลายเป็นการเล่นเหมือนลิเก ล้อชาวบ้าน ผู้ปกครองบ้านเมือง และศาสนา ซึ่งไม่ตรงกับบรรยากาศของการฉลอง ชาวบ้านรู้สึกเสียดาย ที่ไม่มีโอกาส ดูละครสนุกๆ แบบนั้นอีก จึงไปสนุกกันที่บ้านของตน โดยเอาต้นไม้มาไว้ที่บ้าน หลังจากนั้น ก็เริ่มมีการแขวนลูกแอปเปิ้ล ขนมและของขวัญอย่างที่เห็นอยู่ ทุกวันนี้ .....นอกจากนั้น ชาวเยอรมันยังมีประเพณีอีกอย่างหนึ่งคือ มีการจุดเทียนหลายเล่มเป็นรูปปิรามิด ไว้ตลอดคืนคริสต์มาส โดยมีดาวของดาวิดที่ยอดปิรามิด ซึ่งประเพณีที่จะแขวนของขวัญและขนม ก็ได้รวมกับประเพณีของชาวเยอรมันนี้ มาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 โดยเอาเทียนมาไว้ที่ต้นไม้ เป็นรูปทรงปิรามิด นี่เป็นที่มาของประเพณีปัจจุบัน ที่มีการแขวนของขวัญ และไฟกระพริบไว้ที่ต้นคริสต์มาส และมีดาวของดาวิดไว้ที่สุดยอด ประเพณีนี้ เป็นที่นิยมชมชอบของชาวตะวันตกอยู่มาก แม้ว่าประเพณีการตั้งต้นคริสต์มาส มีความเป็นมาดังกล่าว ชาวคริสต์ในสมัยนี้ ก็ยังนิยมทำกันอยู่ เพราะเห็นว่า มีความหมายถึงพระเยซูเจ้า ผู้เปรียบเสมือนต้นไม้แห่งชีวิต (ปฐก.2:9) ที่เขียวสดเสมอในทุกฤดูกาล ซึ่งหมายถึง นิรันดรภาพของพระเยซูเจ้า และนอกจากนั้นยังหมายถึง ความสว่างของพระองค์ เสมือนแสงเทียนที่ส่องในความมืด ทั้งยังหมายถึง ความชื่นชมยินดี และความสามัคคี ที่พระเยซูเจ้าประทานให้ เพราะต้นไม้นั้น เป็นจุดรวมของครอบครัวในเทศกาลนั้น
ซานตาครอส
ซานตาคลอส เป็นจุดเด่นหรือสัญลักษณ์ ที่เด็กและผู้คนนิยมมากที่สุด ในเทศกาลคริสต์มาส แต่แท้ที่จริงแล้ว ซานตาคลอส แทบจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเทศกาลนี้เลย ชื่อซานตาคลอส มาจากชื่อนักบุญนิโคลาส ซึ่งเป็นนักบุญที่ชาวฮอลแลนด์นับถือ เป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์ของเด็กๆ นักบุญองค์นี้ เป็นสังฆราชของไมรา (อยู่ในประเทศตุรกี ปัจจุบัน) มีชีวิตอยู่ราวศตวรรษที่ 4 เมื่อชาวฮอลแลนด์กลุ่มหนึ่ง อพยพไปอยู่ในสหรัฐ ก็ยังรักษาประเพณีนี้ไว้ คือ ฉลองนักบุญนิโคลาส ในวันที่ 6 ธันวาคม ซึ่งหมายถึง นักบุญนี้จะมาเยี่ยมเด็กๆ และเอาของขวัญมาให้ เด็กอื่นๆ ที่ไม่ใช่ลูกหลานของชาวฮอลแลนด์ ที่อพยพมา ก็รู้สึกอยากมีส่วนร่วมในประเพณีแบบนี้บ้าง เพื่อรับของขวัญ ประเพณีนี้ จึงเริ่มเป็นที่รู้จัก และแพร่หลายไปในอเมริกา โดยมีการเปลี่ยนแปลง บางอย่างคือ ชื่อนักบุญนิโคลาส ก็เปลี่ยนเป็นซานตาคลอส และแทนที่จะเป็นสังฆราช ซึ่งเป็นนักบุญ องค์นั้น ก็กลายเป็นชายแก่ที่อ้วน ใส่ชุดสีแดง อาศัยอยู่ที่ขั้วโลกเหนือ มีเลื่อนเป็นพาหนะ มีกวาง เรนเดียร์ลาก และจะมาเยี่ยมเด็กทุกคนในโลกนี้ ในโอกาสคริสต์มาส โดยลงมาทางปล่องไฟ ของบ้าน เพื่อเอาของขวัญมาให้เด็กเหล่านั้น อันที่จริง ซานตาคลอสเป็นรูปแบบที่น่ารัก เหมาะสำหรับเป็นนิยายให้เด็กๆ เชื่อ แต่อาจจะทำให้คนทั่วไปหันมาสนใจ ให้ความสำคัญในตัวนิยายนี้ แทนการบังเกิดของพระเยซูเจ้า ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของเทศกาลคริสต์มาสนี้
อื่นๆ
การให้ของขวัญในวันคริสต์มาส เป็นธรรมเนียมนี้ เริ่มกับชาวโรมที่เคยให้ของขวัญแก่เพื่อนในวันขึ้นปีใหม่ (มักจะเป็นผลไม้ ขนม หรือทองคำ) ต่อมาชาวอังกฤษถือ "วันกลอง" (ในวันที่ 26 ธันวาคม) เป็นวันที่ศิษยาภิบาลเคยเปิด "กลองทาน" ในโบสถ์ และแจกเงินให้สมาชิกที่ยากจน ต่อมาชาว อังกฤษก็ให้ของขวัญแก่พวกคนใช้ และเจ้าหน้าที่ต่างๆ ในวันนั้นด้วย ในทวีปยุโรป เด็กๆ มัก จะเข้าใจว่า พระกุมารเยซูเป็นผู้นำของขวัญมาให้เขา (แท้จริงแล้วพ่อแม่เป็นผู้ที่ให้ต่างหาก) แต่เด็กที่สหรัฐอเมริกามักจะคิดว่า "ซานตาคลอส" เป็นผู้ให้ คืนก่อนวันคริสต์มาส หรือคริสต์มาสอีฟ จะมีงานแครอลลิ่ง ซึ่งจะมีเด็กๆ ไปร้องเพลงตามบ้าน ในคืนวันคริสต์มาส ผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์ จะมารวมตัวกันที่โบสถ์เพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน เช่นการแสดง ร้องเพลง
เพลงคริสต์มาส เพลงวันคริสต์มาส
เพลงคริสต์มาส เริ่มมีขึ้นในศตวรรษที่ 5 ซึ่งในสมัยนั้น มีทั้งพระสงฆ์และฆราวาสเป็นผู้แต่ง ร้องเป็นภาษาลาติน ลักษณะของเพลงเป็นแบบสง่า เน้นถึงความหมายของการเสด็จมา ของพระเยซูเจ้า แต่ในศตวรรษที่ 12 ได้มีวิวัฒนาการใหม่ในด้านเพลงนี้ เริ่มในประเทศอิตาลี โดยนักบุญฟรังซิส อัสซีซี และนักบวชคณะฟรังซิสกัน เป็นผู้มีส่วนในการสนับสนุน ให้มีเพลงคริสต์มาสแบบใหม่ ซึ่งชาวบ้านชอบ คือมีท่วงทำนองที่ร่าเริงกว่า และเน้นถึงความชื่นชมยินดี ในโอกาสคริสต์มาสนี้ เพลงเหล่านี้เป็นภาษาลาติน และภาษาพื้นเมือง เพลงหนึ่งที่แต่งในสมัยนั้น (แต่งคำร้องในปี ค.ศ.1274) และยังใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน คือ เพลง Oh Come, All Ye Faithful หรือ Adeste Fideles ในภาษาลาติน เพลงคริสต์มาส ที่เรานิยมร้องมากที่สุดในปัจจุบันได้แต่งขึ้นในศตวรรษที่ 19 จากประเทศเยอรมัน และประเทศอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ เพลงที่มีชื่อเสียงมากได้แก่ เพลง Silent Night, Holy Night ความเป็นมาของเพลงนี้คือ วันก่อนวันฉลองคริสต์มาส ของปี ค.ศ.1818 คุณพ่อโจเซฟ โมห์ เจ้าอาวาสวัดที่โอเบิร์นดอฟ ประเทศออสเตรีย ได้ข่าวว่าออร์แกนในวันเสีย ทำให้วงขับร้อง ไม่สามารถร้องเพลงตามที่ซ้อมไว้ได้ คุณพ่อเองตั้งใจ จะแต่งเพลงคริสต์มาสใหม่ หลังจากแต่งเสร็จ ก็เอาไปให้เพื่อนคนหนึ่งชื่อ ฟรานซ์ กรูเบอร์ ที่อยู่หมู่บ้านใกล้เคียงใส่ทำนอง ในคืนวันที่ 24 นั้นเอง สัตบุรุษวัดนี้ ก็ได้ฟังเพลง Silent Night เป็นครั้งแรก โดยการเล่นกีตาร์ประกอบการขับร้อง ซึ่งกลายเป็นเพลงที่นิยมมากที่สุดทั่วโลก


เป็นยังไงค่ะ..ได้อ่านแล้ว คงทราบความหมายของคำว่า"คริสต์มาส" กันแล้ว

วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

คำขวัญวันเด็ก


คำขวัญวันเด็ก เป็นคำขวัญที่นายกรัฐมนตรีมอบให้เด็กไทย เนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติของทุกปี โดยคำขวัญวันเด็กมีขึ้นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2499 ในสมัยที่จอมพล ป.พิบูลสงครามดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และตั้งแต่ พ.ศ. 2502 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ให้คุณค่าความสำคัญของเด็ก จึงมอบคำขวัญให้เป็นข้อคติเตือนใจสำหรับเด็กปีละ 1 คำขวัญ (ก่อนถึงวันเด็กแห่งชาติ) นายกรัฐมนตรีสมัยต่อมา จึงได้ถือเป็นธรรมเนียมสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

คำขวัญวันเด็กตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
พ.ศ. 2499 - จอมพล ป.พิบูลสงคราม
จงบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและส่วนรว
พ.ศ. 2502 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความก้าวหน้า
พ.ศ. 2503 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความสะอาด
พ.ศ. 2504 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่อยู่ในระเบียบวินัย
พ.ศ. 2505 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่ประหยัด
พ.ศ. 2506 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่มีความขยันหมั่นเพียรมากที่สุด
พ.ศ. 2507
ไม่มีคำขวัญ เนื่องจากงดการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ
พ.ศ. 2508 - จอมพล ถนอม กิตติขจร
เด็กจะเจริญต้องรักเรียนเพียรทำดี
พ.ศ. 2509 - จอมพล ถนอม กิตติขจร
เด็กที่ดีต้องมีสัมมาคารวะ มานะ บากบั่น และสมานสามัคคี
พ.ศ. 2510 - จอมพล ถนอม กิตติขจร
อนาคตของชาติจะสุกใส หากเด็กไทยแข็งแรงดีมีความประพฤติเรียบร้อย
พ.ศ. 2511 - จอมพล ถนอม กิตติขจร
ความเจริญและความมั่นคงของชาติไทยในอนาคต ขึ้นอยู่กับเด็กที่มีวินัย เฉลียวฉลาดและรักชาติยิ่ง
พ.ศ. 2512 - จอมพล ถนอม กิตติขจร
รู้เรียน รู้เล่น รู้สามัคคี เป็นความดีที่เด็กพึงจำ
พ.ศ. 2513 - จอมพล ถนอม กิตติขจร
เด็กประพฤติดีและศึกษาดี ทำให้มีอนาคตแจ่มใส
พ.ศ. 2514 - จอมพล ถนอม กิตติขจร
ยามเด็กจงหมั่นเรียน เพียรกระทำดี เติบใหญ่จะได้มีความสุขความเจริญ
พ.ศ. 2515 - จอมพล ถนอม กิตติขจร
เยาวชนฝึกตนดี มีความสามารถ
พ.ศ. 2516 - จอมพล ถนอม กิตติขจร
เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ
พ.ศ. 2517 - นายสัญญา ธรรมศักดิ์
สามัคคีคือพลัง
พ.ศ. 2518 - นายสัญญา ธรรมศักดิ์
เด็กดีคือทายาทของชาติไทย ต้องร่วมใจร่วมพลังสร้างความสามัคคี
พ.ศ. 2519 - หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
เด็กที่ต้องการเห็นอนาคตของชาติรุ่งเรือง จะต้องทำตัวให้ดี มีวินัย เสียแต่บัดนี้
พ.ศ. 2520 - นายธานินทร์ กรัยวิเชียร
รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเยาวชนไทย
พ.ศ. 2521 - พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติมั่นคง
พ.ศ. 2522 - พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
เด็กไทยคือหัวใจของชาติ
พ.ศ. 2523 - พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
อดทน ขยัน ประหยัด เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย
พ.ศ. 2524 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
เด็กไทยมีวินัย ใจสัตย์ซื่อ รู้ประหยัด เคร่งครัดคุณธรรม
พ.ศ. 2525 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
ขยันศึกษา ใฝ่หาความรู้ เชิดชูชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย
พ.ศ. 2526 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
รู้หน้าที่ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด มีวินัยและคุณธรรม
พ.ศ. 2527 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
รักวัฒนธรรมไทย ใฝ่ดีมีความคิด สุจริตใจมั่น หมั่นศึกษา
พ.ศ. 2528 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
สามัคคี นิยมไทย มีวินัย ใฝ่คุณธรรม
พ.ศ. 2529 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ. 2530 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ. 2531 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ. 2532 - พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ
รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ. 2533 - พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ
รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ. 2534 - พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ
รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่คุณธรรม นำชาติพัฒนา
พ.ศ. 2535 - นายอานันท์ ปันยารชุน
สามัคคี มีวินัย ใฝ่ศึกษา จรรยางาม
พ.ศ. 2536 - นายชวน หลีกภัย
ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. 2537 - นายชวน หลีกภัย
ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. 2538 - นายชวน หลีกภัย
สืบสานวัฒนธรรมไทย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. 2539 - นายบรรหาร ศิลปอาชา
มุ่งหาความรู้ เชิดชูความเป็นไทย หลีกไกลยาเสพติด
พ.ศ. 2540 - พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
รู้คุณค่าวัฒนธรรมไทย ตั้งใจใฝ่ศึกษา ไม่พึ่งพายาเสพติด
พ.ศ. 2541 - นายชวน หลีกภัย
ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย
พ.ศ. 2542 - นายชวน หลีกภัย
ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย
พ.ศ. 2543 - นายชวน หลีกภัย
มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย
พ.ศ. 2544 - นายชวน หลีกภัย
มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย
พ.ศ. 2545 - พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร
เรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้ สู่อนาคตที่สดใส
พ.ศ. 2546 - พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร
เรียนรู้ตลอดชีวิต คิดอย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี
พ.ศ. 2547 - พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร
รักชาติ รักพ่อแม่ รักเรียน รักสิ่งดีๆ อนาคตดีแน่นอน
พ.ศ. 2548 - พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร
เด็กรุ่นใหม่ ต้องขยันอ่าน ขยันเรียน กล้าคิด กล้าพูด
พ.ศ. 2549 - พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร
อยากฉลาด ต้องขยันอ่าน ขยันคิด
พ.ศ. 2550 - พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
มีคุณธรรมนำใจ ใช้ชีวิตพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข
พ.ศ.2551 - พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์
สามัคคี มีวินัย ใฝ่ความรู้ เชิดชูคุณธรรม

วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ด้วยบริษัทมิชลินร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ ชวนน้อง ๆ ชั้น ป.1 - ป.3 ส่งผลงานวาดภาพระบายสี

ชิงทุนการศึกษา ประจำปี 2550 ในหัวข้อ " ลดใช้พลังงาน ลดปัญหาโลกร้อน "

ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามได้ที่ ฝ่ายโครงการประวกดวาดภาพมิชลิน อาคารพิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานคร โทร 0-2615-7333 ต่อ 107,119 ตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2550 นี้เท่านั้น



รีบ ๆ หน่อยนะคะ ..ที่มา Kid and School Vol.8 No.89 November 2007..

ขอความร่วมมือพิจารณาบุคลากรเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโท


ด้วยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง กำลังเปิดรับสมัครนักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาการสอนภาษาอังกฤษ ในฐานะภาษาต่างประเทศ และสาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา เข้าศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 โดยจัดการเรียนการสอน ณ ศูนย์ให้การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา วิทยาลัยพยาบาลราชชนนี ราชบุรี

ในการนี้ ศูนย์ให้การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง มีนโยบายเน้นในด้านการขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่ผู้บริหาร ครูผู้สอน และบุคลากร ในท้องถิ่นและพื้นที่ใกล้เคียง โดยเปิดโอกาสให้ส่งบุคลากรเข้าศึกษาต่อตามหลักสูตรข้างต้น จำนวนไม่เกิน 3 คน จัดส่งรายชื่อมายัง สำนักศูนย์ให้การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ภายในวันที่ 28 ตุลาคม สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร 0 3226 1790 ต่อ 3008


ฝ่ายธุรการ ฯ

วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2550

พ่อ-แม่ เป็นพระในบ้าน



มารดาบิดานั้นในทางธรรมะท่านถือว่าเป็น "พระ" ในครัวเรือนเป็นพระที่เราควรกราบไหว้บูชาสักการะทุกวันเวลา คนเราถ้าไม่รู้จักกราบพระที่อยู่
ใกล้ ๆ แล้วจะไปไหว้พระที่อยู่ไกลๆ ได้อย่างไรพระที่อยู่ที่วัดอยู่ไกลบ้าน แต่พระที่อยู่ใกล้เราก็คือแม่ของเราพ่อของเรานั่นเอง เราจึงต้องเคารพพระที่อยู่ในบ้านก่อน แล้วมันจะเกื้อกูลแก่การเคารพพระนอกบ้านต่อไป เคราพอะไรๆ อื่นต่อไปมารดาบิดาจึงเป็นร่มโพธิ์ร่มไทร เป็นเทวดาผู้ให้ความคุ้มครองรักษาแก่เราตลอดเวลา

จึงขอนำบทความในข้างต้นนี้ไว้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ให้ระลึกถึงพระคุณของคุณพ่อ-คุณแม่ไว้ ณ.ที่นี้




คติธรรม

สติมา ทุกข์หนี
สติมี ทุกข์หมด
สติลด ทุกข์มา



สูตรประสพความสำเร็จ
1.ขยัน ( แบบคนจีน )
2.นอบน้อม (สุภาพแบบคนไทย)
3.ทำงานเป็นระบบ ( แบบคนฝรั่ง )
4.ทำงานเป็นทีม ( แบบคนญี่ปุ่น )
5.มีเป้าหมายชัดเจน จริงจัง ( ซื่อสัตย์)


อยากให้คุณครูทุกท่านยึดสูตรประสพความสำเร็จใน 5 ประการนี้ แล้วท่านจะประสพความสำเร็จ